การศึกษาการบริหารและแนวทางการพัฒนาการบริหารความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้บริหารสถานศึกษา และครู โรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต1 กลุ่ม 6 ผู้วิจัยกำหนดขนาดตัวอย่างโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan ได้ขนาดตัวอย่าง 265 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 5 คน ใช้ในการสัมภาษณ์และครู 260 คน ใช้ในการตอบแบบสอบถามและสุ่มอย่างง่ายเพื่อหาสัดส่วนแต่ละโรงเรียน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลที่ได้ จากการสัมภาษณ์ สรุป และนําเสนอเป็นตารางประกอบคำบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 พบว่า โดยรวมนักเรียนมีระดับพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย ( = 3.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านนักเรียนมีพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง นักเรียนมีระดับพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย ( = 3.37) รองลงมาด้านความซื่อสัตย์ ( = 3.31) ด้านความตั้งใจ ( = 3.28) ด้านความอดทน ( = 3.24) ส่วน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านความความรับผิดชอบ ( = 3.11)
2. แนวทางการพัฒนาการบริหารความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง ควรวางยุทธศาสตร์การพัฒนาให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง ด้านความซื่อสัตย์ ควรใช้วิธีการบริหารเชิงกลยุทธ์ กำหนดนโยบายผ่านโครงการในรูปกิจกรรมที่เหมาะสม ด้านความตั้งใจ ควรนำนวัตกรรมการบริหาร พลังบวกแห่งความสำเร็จ โดยใช้วงจรการควบคุมคุณภาพ ด้านความซื่อสัตย์ ควรกำหนดแผนงานประจำปีของกลุ่มบริหารงานบุคคล งานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยกำหนดสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ประกอบด้วย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ และด้านความรับผิดชอบ ควรวางแผนโครงการพัฒนาและเผยแพร่ไปยังชุมชนและสถานศึกษาแห่งอื่นสามารถพัฒนานักเรียนให้มีความรับผิดชอบสูงขึ้น ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ควรกำหนดเป็นโครงการในรูปกิจกรรมที่เหมาะสมและนำนวัตกรรมการบริหารพลังบวกแห่งความสำเร็จ ตลอดจนใช้วงจรการควบคุมคุณภาพ (PDCA Cycle) เป็นเครื่องมือควบคุมคุณภาพ การจัดเป็นกิจกรรมทัศนคติเชิงบวก ซึ่งกำหนดสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งจะให้มีความรู้ความสามารถ ในการพัฒนาตนเองร่วมกับสถานศึกษา
Article Details
References
แดง ชื่นในจิตร. (2561). สภาพการบริหารความมีวินัยในตนเอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ธีรเมธ เสาร์ทอง. (2561). ความมีวินัยในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนสตึก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2555). วินัยในตนเองและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/149163/109531