ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Main Article Content

อดิพงษ์ ผะเดียงฉันท์
นันทิยา น้อยจันทร์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 เป็นการการค้นคว้าเชิงปริมาณ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 380 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการทดสอบสถิติ Independent Sample : t-test, ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance (ANOVA : F-test))
          ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 พบว่า ด้านการควบคุมองค์การให้สมดุล โดยรวมอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 ด้านการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 เท่ากับด้านการสนับสนุนวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 รองลงมาคือด้านการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 และด้านการบริหารทรัพยากรองค์การ โดยรวมอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้บริหารที่มีตำแหน่งและมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน ส่งผลต่อคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในด้านการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม ในด้านการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 พบว่า ผู้บริหารต้องการที่จะพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงมีคุณภาพและเสมอภาคทั้งออนไลน์ และออฟไลน์มีการกระตุ้นให้ครูนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้ครูเกิดการพัฒนาตนเองและสร้างสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ครูได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองในการพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น และทำการอบรมความรู้เพิ่มเติม โดยผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ พันธกิจเป้าหมาย เพื่อต้องการสนับสนุนบุคลากรในองค์กรให้มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานให้มีมาตรฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2564). ข้อมูลทั่วไป. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.sesao2.go.th

กมลชนก สุกแสง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วันวิสาข์ ทองติง. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุพรรณ ประศรี. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ฉลวย คงแป้น. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษาจังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 7 (2), 41-51.

นรรธพงศ์ ใคร่เครือ. (2556). ปัญหาการบริหารงานคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดระยอง. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 5 (3), 113-121.

สุวิทย์ ครึกกระโทก. (2554). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อผลลัพธ์ทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์. 23 (1), 216-229.

ฏิมากร บุ้นกี้. (2563). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

นวลจันทร์ จุนทนพ. (2559). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Ismail, S. N., Kanesan, A. G., & Muhammad, F. (2018). Teacher Collaboration as a Mediator for Strategic Leadership and Teaching Quality. International Journal of Instruction. 11 (4), 485-498.

Mårell-Olsson, E., & Bergström, P. (2018). Digital transformation in Swedish schools: Principals’ strategic leadership and organisation of tablet-based one-to-one computing initiatives. In Seminar. net: Media, technology and lifelong learning. 14 (2), 174-187.