การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

Main Article Content

ต้องชนะ หมั่นบรรจง
ประภาพร คงวัดใหม่
เกษศิรินทร์ สุวรรณรุ่งโรจน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 2) เปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ที่มีต่อทักษะการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาสื่อและของเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย จำนวน 22 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง ระยะเวลาในการวิจัยภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คือ AEDRCAE Model มี 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นวิเคราะห์และรับประสบการณ์ ขั้นออกแบบและสะท้อนการเรียนรู้ ขั้นการสร้างมโนทัศน์ ขั้นการประยุกต์ใช้ และขั้นการประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และความเหมาะสมต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยหลังการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์โดยรวมมีทักษะการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก 3) ระดับคุณภาพความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติคม คาวีรัตน์. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญมา เวียงคำ. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 8 (2). 13-26.

สุชาดา หวังสิทธิเดช และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. รายงานการวิจัย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Davies, I.K. (1971). The Management of Learning. London : McGraw - Hill.

Gardner Howard. (1999). Intelligence reframed: Multiple Intelligences for the 21st Century. New York: Basic Books.

Gordon, J. R. (1998). Organizational Behavior: A Diagnostic Approach. (6th ed.). New York: Prentice - Hall.

John. R.T. and John. D.W. (1994). An overviww of cooperative learning. In J.S. Thousand, R.A. Villa & A.I. Nevin(Eds.), Creativity and collaborative learning. Baltimore. Maryland: Paul H. Brookes Publishing Co. 31-34.

Klausmeier. H.J. (1985). Educational psychology. 5th ed. New York: Harper & Row.

Knowles. (1997). Self-directed Learning: A Guide for Learners and Teacher. New York: Association Press.

Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliff, New Jersey: Pretice-Hall.

McCarthy, E. Jerome &. Perreault William D, Jr. (1990). Basic Marketing. (10th ed). Illinois. Ridchard D. Irwin,Inc.

Ministry of Education. (2011). Bachelor Degree Qualification Standards in Education Programs (Five-year Program). Online. Retrieved May 30, 2020. From: http://www.mua.go.th/users/tqfhed/news/FilesNews/FilesNews6/education5year_m1.pd.

Harrow, A. (1972). A Taxonomy of the Psychomotor Domain : A Guide for Developing Behavioral Objectives. New York : Longman.

Richardson Virgimia. (1997). Constructivist teacher education; building new understanding. London: The Falmer Press.

Rogers, C.R. (1969). Freedom To Learn. Columbus, Ohio: Charles E. Merill Publishing Company.

Simpson, D. (1972). Teaching Physical Education : A System Approach. Boston : Houghton Muffim Co.

Sinlarat, P. (2014). Principles and Techniques of Learning Management in Higher Education. Bangkok: Chulalongkorn University.

Wiggings, G. and McTighe, J. (2004). Understanding by design. ASCD publications: USA.

Xiadi Chen and Other. (2005). “Livestyles and Health-related quality of life in Japanese school children: a cross-sectional study.” The journal of Preventive Medicine Japan, 40 (6). 1-20.