ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเอกชน ระดับประถมศึกษาของจังหวัดเชียงใหม่ในความปกติใหม่

Main Article Content

วีรวิชญ์ อารีสวัสดิ์
ศันสนีย์ จะสุวรรณ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเอกชนระดับประถมศึกษา 2) การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเอกชนระดับประถมศึกษา 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเอกชนระดับประถมศึกษาของจังหวัดเชียงใหม่ในความปกติใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูของสถานศึกษาระดับประถมศึกษาของจังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 364 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


           ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเอกชนระดับประถมศึกษา โดยภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ลำดับค่าเฉลี่ย คือ ปัจจัยด้านผู้บริหาร (X1) ปัจจัยด้านผู้ปกครองและชุมชน (X3) ปัจจัยด้านครูผู้สอน (X2) ปัจจัยด้านอาคารสถานที่ (X5) ปัจจัยด้านงบประมาณ (X4) และปัจจัยด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา (X6)
          ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเอกชนระดับประถมศึกษา โดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ งานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา งานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ งานส่งเสริมการบริหารวิชาการงานพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสื่อการศึกษา งานบริการวิชาการแก่ชุมชน
          ปัจจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเอกชนระดับประถมศึกษา โดยการวิเคราะห์การพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) พบว่า ปัจจัยของการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อการบริหารงานในสถานศึกษาเอกชนระดับประถมศึกษา ของจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 6 ด้าน ซึ่งเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านอาคารสถานที่ ด้านงบประมาณ ด้านผู้ปกครองและชุมชน ด้านครูผู้สอน ด้านผู้บริหาร โดยภาพรวมได้ร้อยละ 73.60 สร้างสมการในรูปแบบคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้
          สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ
          Y = .412 + .086 (x1) + .346 (x6) + .266 (x2) + .182 (x3) + .077 (x4) -.039 (x5)
          สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน
          Zy= .099 (z1) + .420 (z6) + .240 (z2) + .202 (z3) + .108 (z4) -.045 (z5)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2541). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปและส่งเสริมการศึกษาเอกชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา. 2541.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา : กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

ธีรัตม์ พลบุรี. (2551). ปัจจัยใจที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

บุญศรี พรหมมาพันธุ์, สรชัย พิศาลบุตร, และ ส่งศักดิ์ ทิตาราม. (2554). การใช้สถิติเชิงบรรยายในเอกสาร

การสอนชุดวิชาสถิติวิจัยและประเมินผลการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปราณี ท้าวกลาง. (2557). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราภัฏสกลนคร.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พิชัย เสงี่ยมจิตต์. (2552). การบริหารงานเฉพาะด้านในสถาบันการศึกษา. อุบลราชธานี:สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

สุรัฐ ศิลปะอนันต์. (2528). หลักและกระบวนการการบริหารการศึกษา (1). เอกสารการสอนวิชาหลักและระบบการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 4 . โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบคุคลและนิติการ (2560). คู่มือ การปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เอมิกา โตฉ่ำ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

Smith, R. H., and Others. (1980). Measurement : Making Organization Perform. New York : Macmillan

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and Row Publications.