การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ชนาพร เมฆดี
ทัศนะ ศรีปัตตา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลกและเพื่อศึกษาแนวทางบริหารหลักสูตรสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก  การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 39 คนและครูจำนวน 312 คน รวมทั้งสิ้น 351 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. สภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
 คือ ด้านการใช้หลักสูตรสถานศึกษา รองลงมา คือ ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา
          2. แนวทางบริหารหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก พบว่า มีแนวทางสำคัญประกอบด้วย ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา 3 แนวทาง ด้านการวางแผนการใช้หลักสูตรสถานศึกษา 3 แนวทาง ด้านการใช้หลักสูตรสถานศึกษา 4 แนวทาง ด้านการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา 4 แนวทาง และด้านการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 3 แนวทาง


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัมพล ขันทะวงษ์. (2555). แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สหวิทยาเขตปราสาทพญาไผ่

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ชวลิต ชูกําแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: ทีคิวพี จํากัด.

ภาวนา กิตติวิมลชัย. (2561). การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการบริหารหลักสูตรตามระบบการประกัน คุณภาพการศึกษา และแนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพกรณีศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 13 (2), 109-125

ดวงใจ ไชยลังการ. (2558). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 1. วารสารหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8 (18) ,107-114

พิชญ์สิชา พงษ์พันแพงพงา และ สำเริง บุญเรืองรัตน์. (2562). การนิเทศกับการวิจัยพัฒนาการเรียนการสอนชในยุคศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

(4), 10-21

พิชยา ทอดทิ้ง. (2558). สภาพ ปัญหา และแนวทางการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มในโรงเรียน

ของรัฐจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.

มาเรียม รัมมะบุตร์. (2558). แนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมัธยม มหาวิทยาลัย

ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. (3), 47-53

สุภาวดี วัชระคุปต์. (2552). การบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา ช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรพล พุฒคำ. (2564). การพัฒนารปแบบการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดลพบุรี สระบุรีและสิงห์บุรี. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ.

(1), 243-259

เสาวนีย์ นวลน้อย. (2560). การบริหารหลักสูตรในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาการจัดการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

อาภรณ์ สุขสวัสดิ์. (2553). กระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลหนองคาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.