การศึกษาสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในการวิจัย คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร จำนวน 1,144 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร จำนวน 287คน ได้จากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับโดยมีค่าความสอดคล้อง (Index of item Objective Congruence) อยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยการหาค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค ได้ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.934 ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ คือ 1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน 2) ด้านการบริการที่ดี 3) การพัฒนาตนเอง 4) ด้านการทำงานเป็นทีม5) ด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะหลักของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตมัธยมศึกษาจังหวัดพิจิตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยสมรรถนะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม และสมรรถนะที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อให้ตอบสนองกับการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กัญญ์วรา ผลเจริญ. (2559). การศึกษาสมรรถนะหลักของครูโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทะเวศร์ ศรรบศึก. (2560). ศึกษาระดับและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พรอัญชลี พุกชาญค้า (2556). การประเมินสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2563. แหล่งที่มา: http://www.pccm.ac.th/tinymce/home/articles .
พระมหาวสวัตติ์ เดชะนันท์. (2561). สภาพและความต้องการพัฒนาสมรรถนะของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.
วินัย นาคำ. ( 2560). สมรรถนะหลักของครูตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูไทยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนศรีมหาโพธิสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. งานนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2563). สองทศวรรษปฎิรูปการศึกษาไทยความล้มและความสำเร็จ.กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน).
สุธี บูรณะแพทย์.(2557). สมรรถนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. การศึกษาอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
สุภาพรรณ ธะยะธง. ( 2562 ). การศึกษาสมรรถนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.