การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ ของผู้สูงอายุ

Main Article Content

โสภณา จิรวงศ์นุสรณ์
ณัฐวดี จิตรมานะศักดิ์

บทคัดย่อ

          ผู้สูงอายุที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ส่งผลให้มีสุขภาพดี การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบและทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ ของผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยและพัฒนาที่ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสานและใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนารูปแบบ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตำบลม่วงค่อม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ระยะที่ 2 การทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกโรงเรียนผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงค่อม จำนวน 83 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพและแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired samples t-test ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ เท่ากับ .859 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ เท่ากับ .804
         ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่ถูกพัฒนาใช้แนวคิดแบบจำลอง V-Shape   ประกอบด้วย 18 กิจกรรม ผลการทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบ ดังนี้ 1) ผู้สูงอายุมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D.= .574)    ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ มีประสิทธิผลอยู่ในระดับดีมาก ดังนั้นรูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ ของผู้สูงอายุจึงสามารถนำไปใช้ปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง. (2563). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.dop.go.th/ download/knowledge/th1580099938-275_1.pdf

กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต. (2558). แนวทางการดูแลทางด้านสังคมจิตใจของผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิต (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา: http://164.115.41.179/promote/sites/default/files/sites/default/ files/sw/1.pdf

ทัดตา สุภากูลย์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสงเสริมพฤติกรรมสุขภาพสําหรับเด็กนักเรียน โรงเรียนตํารวจตระเวนชายแดนในพื้นที่ทุรกันดาร อําเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี.วิทยานิพนธสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการสงเสริมสุขภาพ คณะศิลปศาสตรมหาวิทยาลัยเกริก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2563. แหล่งที่มา: https://mis.krirk.ac.th/librarytext/SAS/2561/F_adta_%20% 20Supakool.pdf

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2562 ประวัติศาสตร์ใหม่ จำนวนผู้สูงอายุมากกว่าเด็กเป็นปีแรก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://thaitgri.org/?p=39457

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). สังคม สูงอายุ...แบบสมบูรณ์ คนไทยพร้อมแล้วหรือยัง?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/ Pages/Aging-society-FB-30-04-21.aspx

สมรทิพย์ วิภาวนิช และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2559). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสุขภาวะชุมชน. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9 (2), 1207-1233. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา: file:///C:/Users/user/ Downloads/67140-Article%20Text-157099-1-10-20160920%20(1).pdf

สุนิศา แสงจันทร์ และคณะ. (2558). รายงานวิจัยเรื่อง แบบแผนการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการ และปัจจัยขับเคลื่อน ชุมชนผู้สูงอายุสุขภาพดี. สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา: http://dspace.lib. buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/ 1671?show=full

ณัฐวดี จิตรมานะศักดิ์ และคณะ. (2563). การพัฒนาแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุเพื่อรองรับไทยแลนด์ 4.0. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. กรุงเทพมหานคร.

กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย. (2561). เอกสารประกอบการจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ประเด็นความรอบรู้ด้านสุขภาพ. เรื่องและประเด็นการปฏิรูปด้านสาธารณสุข : ประเด็นความรอบรู้ด้านสุขภาพ.

งานอนามัยวัยเรียน ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี. (2561). คู่มือแนวทาง การพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy School : HLS). ศูนย์อนามัยที่ 8 จังหวัดอุดรธานี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2563. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422