ความต้องการจำเป็นและแนวทางการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 30 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง ครูจำนวน 255 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ และแบบสัมภาษณ์แนวทางการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร ด้านการบริหารและการพัฒนาหลักสูตร มีดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการนิเทศการศึกษา 2) การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร จำนวน 18 แนวทาง
Article Details
References
กมล ภู่ประเสริฐ. (2545). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: เมธีทิปส์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ขวัญชัย ขัวนา. (2560). ปรัชญาและการพัฒนาหลักสูตร. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลยุทธ์และแนวทางสำหรับ ผู้บริหารมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.
จีณัญญาพัจน์ โคตรหลักคำ. (2558). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จีรวัฒน์ ภูอาบทอง และคณะ. (2564). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 40 (3), 31-42.
ชนพัทธ์ รัตนพันธ์. (2562). การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ชาตรี มณีโกศล. (2560). พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ธัญญลักษณ์ ผาภูมิ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารงาน
วิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2563). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.
ปิยพันธ์ ศิริรักษ์ และคณะ. (2563). การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7 (2), 314-325.
มนรัตน์ แก้วเกิด และคณะ. (2564). ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 15 (1), 76-78.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2557). การบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: เทมการพิมพ์.
สนธิ สถาพร. (2559). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 8 (1), 362-377.
สมาน อัศวภูมิ. (2551). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ. อุบลราชธานี: อุบล
กิจออฟเซฟการพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. (2563). ข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://1th.me/2H67V.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัด
การศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนด
หลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. (พิมพ์ครั้งที่
. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน
การศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษา
พิเศษ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการวิเคราะห์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพ
การศึกษาให้รองรับการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://1th.me/IhVSk
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับ
ปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2560). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวภา นิสภโกมล. (2558). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาพลเมืองคุณภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
อนุพงษ์ คล้องการ และคณะ. (2563). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียน. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา. 3 (2), 42-60.
อารีรัตน์ ศรีชมภู. (2559). ความต้องการจําเป็นในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสายปัญญาในพระบรมราชินูปถัมภ์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 11 (2), 33-49.