กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับตลาดอาหารปลอดภัยในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

บุษกร คำโฮม
ศุภกัญญา จันทรุกขา
เจียระไน ไชยกาล เจิ้ง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับอาหารปลอดภัยในจังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคที่เคยซื้ออาหารปลอดภัยในตลาดดอนกลาง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 392 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจด้วย PEST Analysis และ SWOT Analysis พัฒนากลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix และวิเคราะห์การตลาดด้วย STP Analysis ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์ที่เหมาะสม ได้แก่ 1) กลยุทธ์เชิงรุกที่ใช้สื่อทั้งออฟไลน์และออนไลน์ในการสร้างการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับความสะดวกและความสะอาดของตลาด 2) กลยุทธ์เชิงแก้ไขด้วยการสร้างเอกลักษณ์ให้กับตลาด เน้นอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารปลอดภัยทั่วทั้งตลาด 3) กลยุทธ์ป้องกันด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของตลาดให้พร้อมบริการลูกค้า 4) กลยุทธ์เชิงรับโดยการส่งเสริมการพัฒนาสินค้าและการบริการให้มีเอกลักษณ์เพื่อสร้างความประทับใจ นอกจากนี้ สามารถพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับตลาดอาหารปลอดภัย 5 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์และความคุ้มค่า กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดและความสะดวก กลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย กลยุทธ์ด้านผู้ขาย และกลยุทธ์ด้านกระบวนการ ซึ่งผู้บริหารตลาดและผู้ขายสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินการเพื่อเพิ่มยอดขายได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ สิทธิชัย และธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้บริโภคร้านอาหารเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพฯ. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11 (1), 65-86.

กรุงเทพธุรกิจ. (2562). หนี้ครัวเรือนปี 62 สูงสุดประวัติการณ์ 3.4 แสนบาท. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2562. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/856350

ฐานเศรษฐกิจ. (2562). 'นีลเส็น' เผย "เทรนด์รักสุขภาพ" โต แนะผู้ผลิตเสนอสินค้าและบริการตอบโจทย์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562. แหล่งที่มา: https://www.thansettakij.com/ content/398882

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า. (2562). ส่องเทรนด์โลก: Gen Z กับทิศทางตลาดอาหารโลก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2562. แหล่งที่มา: https://www.ryt9.com/s/exim/2985705

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยวรรณ สิริประเสริฐศิลป์ อนุชา กันทรดุษฎี กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ และโสภณ ฟองเพชร. (2562).การบริโภคสินค้าและอาหารอินทรีย์ของประชาชนในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 12 (2), 105-117.

พิมพ์กานต์ดา เทพวงษ์. (2556). การรับรู้และพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษ ของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข. 6 (1), 41-52.

ราตรี มาลัยแก้ว. (2561). กลยุทธ์ทางการตลาดและการดำเนินงานของผู้ประกอบการสินค้าที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ตลาดกลางผักและผลไม้ภาคตะวันตกประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ. 5 (2), 243-255.

วชิระ น้อยนารถ พัชราวดี ศรีบุญเรือง และสาวิตรี รังสิภัทร์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษของผู้บริโภค ร้านโกลเด้น เพลซ สาขามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 35 (1), 136-145.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ ศุภร เสรีรัตน์ องอาจ ปะทวานิช ปริญ ลักษิตานนท์ และสุพีร์ ลิ่มไทย. (2543). หลักการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท๊กซ์ จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2562. แหล่งที่มา: https://www.nesdb.go.th/ download/document/SAC/ NS_SumPlanOct2018.pdf

สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2561-2564 (ฉบับใหม่). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2562. แหล่งที่มา: http://www.ubu.ac.th/web/files_ up/03f2017041010303944.pdf

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย. (2563). คู่มือ Go Green Plus ประจำปี 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.market-organization.or.th/files/organization/ GoGreenPlus.pdf

Adewale, G. (2013). Impact of Marketing Strategy on Business Performance A Study of Selected Small and Medium Enterprises (Smes) In Oluyole Local Government, Ibadan, Nigeria. IOSR Journal of Business and Management. 11 (4), 59–66.

Aghdaie, SFA & Honari, R (2014). Investigating the Role of Brand in Forming the Consumer Involvement. International Review of Management and Business Research. 3 (1), 254-266.

Brand Buffet. (2017). ตลาดยิ่งเจริญ กับการปรับตัวสู่ตลาดสดออนไลน์ ในยุคที่ Marketplace เบ่งบาน. Online. Retrieved 20 November 2019. from: https://www.brandbuffet.in.th/2017/ 08/62yrs-yincharoen-freshmarket-marketplace/

Brodie, R. J., A. Ilic, B. Juric, & L. Hollebeek. (2013). Consumer Engagement in a Virtual Brand Community: An Exploratory Analysis. Journal of Business Research. 66 (8), 105– 114.

Jain, R. (2017). Basic branding concepts: brand identity, brand image and brand equity. International Journal of Sales & Marketing Management Research and Development

IJSMMRD. 7 (4), 18.

Kotler, P., Keller, K. L., Ang, S. H., and Ang S. H. (2007). Marketing Management an Asian Perspective. (3rd Ed). Pearson Education Indochina Ltd.

Mahmood, R., and Khan, S.M. (2014). Impact of Service Marketing Mixes on Customer Perception: A Study on Eastern Bank Limited, Bangladesh. European Journal of Business and Management. 6 (34), 164-172.

Morgan, R. M., & Hunt, S. (1999). Relationship-based competitive advantage: the role of relationship marketing in marketing strategy. Journal of Business Research. 46 (3), 281-290.

Owomoyela S.K, Oyeniyi K.O, and Ola O.S, (2013). Investigating the impact of marketing mix elements on consumer loyalty: An empirical study on Nigerian Breweries Plc. Interdisciplinary. Journal of Contemporary Research In Business. 4 (11), 485 –496.

Positioning. (2019). โพสต์คอนเทนต์ Social Media “วัน-เวลา” ไหน คนไทยสนใจมากที่สุด. Online. Retrieved 25 November 2019.. from : https://positioningmag.com/1239864

Rafiq, M., and Ahmed, P. K. (1995). Using the 7Ps as a Generic Marketing Mix. Marketing Intelligence & Planning. 13 (9), 4–15.