การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดินในท้องถิ่นของเรา โดยใช้การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

วัชรากร ศรีสุพัฒน์
ดุจเดือน ไชยพิชิต

บทคัดย่อ

          การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้น และจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดและ 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้น และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนอนุบาลพรประดิษฐ์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องดินในท้องถิ่นของเรา โดยใช้การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา จำนวน 6 แผน (2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดินในท้องถิ่นของเรา โดยใช้การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดินในท้องถิ่นของเรา โดยใช้การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
          ผลการศึกษาพบว่า
          1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดินในท้องถิ่นของเรา โดยใช้การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.54คิดเป็นร้อยละ 78.17และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 90.00 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดินในท้องถิ่นของเรา โดยใช้การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.06คิดเป็นร้อยละ 80.83ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

จารุวรรณ เสียงไพเราะ. (2554). การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นฐานเรื่องพอลิเมอร์ธรรมชาติ. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยบูรพา. มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.

จำรัส อินทลาภาพร และคณะ. (2558). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับปฐมวัยและประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (วิจัยและพัฒนาหลักสูตร). บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นันทพร สงวนหงส์. (2552). การพัฒนาแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สําหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 สังกัดสํานักงานนเขตพื้นที่การศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

น้ำเพชร กะการดี. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.วิทยานิพนธ์ ค.ม. (วิทยาศาสตรศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัญ: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิรัตน์ เจริญสุข. (2554). ผลการใช้ชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5. วิทยานิพนธ์ คม. (หลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2557). คู่มือหลักสูตรอบรมครูสะเต็มศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ

อับดุลยามีน หะยีขาเดร์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.