การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก เรื่องการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยใช้ประเด็น วิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับไอซีที เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในรายวิชาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

เจษฎา นาจันทอง

บทคัดย่อ

          การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยใช้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับไอซีที เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน 2) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับไอซีที       2) แบบวัดความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 3) แบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาขี้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าคะแนนที และสถิติการทดสอบค่าที
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. ก่อนเรียน นักเรียนร้อยละ 31.25 มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับควรได้รับการพัฒนา ร้อยละ 53.13 อยู่ในระดับอ่อน และร้อยละ 15.63 อยู่ในระดับพอใช้ เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยใช้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับไอซีที พบว่านักเรียนร้อยละ 100 ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับดี
          2. คะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
          3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ ฉิมพาลี (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การรู้วิทยาศาสตร์และเหตุผลเชิงจริยธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมและการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2557- 2559. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์. (2557). รายงานทีดีอาร์ไอ การจัดทํายุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิด

ความรับผิดชอบ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).

เกียรติพร สินพิบูลย์ (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยการจัดการเรียนรู้

ด้วยการใช้คำถามเป็นฐานร่วมกับมัลติมีเดีย สำหรับหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์

ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จรรยารักษ์ กุลพ่วง. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และเจตคติ

ต่อกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซม ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

จุฑามาศ บุญทวี. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย

ใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบันฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2554). วิจัยการเรียนการสอน. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.

ปิยพร นิสัยตรง และสมพงษ์ พันธุรัตน์. (2560). การพัฒนาแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17. 21 กรกฎาคม 2560. ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ริเวอร์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยา ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยครุศาตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ลัดดาวัลย์ สาระภัย (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์แสง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning). วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ QUALITY OF STUDENTS DERIVED FROM ACTIVE LEARNING PROCESS. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. 6 (2), 1-13.

สุรีย์วัลย์ พันธุระ (2560). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิมล เขี้ยวแก้ว. (2557). สอนดีมีประสิทธิผล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 25 (3), 13-18.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). การประชุมสัมมนาทางวิชาการระหว่างประเทศ ประจําปี 2557 ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เรื่อง การศึกษาไทยในโลกศตวรรษที่ 21. 28-29 พฤศจิกายน 2556 และ 10-11 มีนาคม 2557. โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด และ โรงแรมพูแมนขอนแก่น ราชา ออคิด. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560ข). สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ.2559/2560. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Bonwell, Charles C. and Eison, James A. (1991). Active Learning : Creating excitement in the Classroom. Washington, DC. : George Washington University.

Clapper, Timothy C. (2008). Skills for the 21st century require Active Learning. PAILAL, 1 (3), 1-3.

Lorenzen, M. (2001). Active Learning and Library Instruction. Illinois Libraries, 83 (2), 9-24.