บริบทของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

สรรพสิทธิ์ ชมภูนุช
ทิวากร แสร์สุวรรณ
ศิรินดา สวนมาดี
โชติ บดีรัฐ

บทคัดย่อ

          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสำคัญต่อการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับประชาชน โดยรัฐบาลให้อำนาจการปกครองหรือกระจายอำนาจไปให้หน่วยปกครองท้องถิ่นเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครองท้องที่และชุมชน โดยมีองค์กรผู้รับผิดชอบอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลกลาง ตามวิธีที่เหมาะสมกับการปกครอง ทั้งนี้ การเสริมสร้างศักยภาพและวางแผนงานในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงมาจากกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะเวลา 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในช่วงการเข้าสู่ในช่วงเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) และแผนยุทธศาสตร์กระทรวงมหาดไทย ตามลำดับ เพื่อนำมากำหนดแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาท้องถิ่น และแผนพัฒนาชุมชน ควรมีเป้าหมายสำคัญคือการกำจัดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมกระจายอำนาจการปกครอง การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนท้องถิ่น เช่น การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตร และเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง ผลักดันให้คนในชุมชนเป็นผู้ประกอบการนำไปสู่การเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง ส่งผลให้มีความยากจนข้ามรุ่นลดลง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ และสิริพันธ์ พลรบ. (2558). แนวทางการปรับปรุงฐานะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล. Public Health & Health Laws Journal.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์และกอบกุลรายะนาคร. (2552). การขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการจัดบริการสาธารณะที่ดีชุดการวิเคราะห์ช่องว่างทางนโยบายสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สนสธ.)

ธนาคารโลก. (2555). การบริหารการเงินการคลังสาธารณะของประเทศไทย : การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะของไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ. 11 พฤษภาคม 2012. แหล่งที่มา: http://thai publica.org/2012/05/world-bank-reportthe-federal-budget-local/