การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านของนักศึกษา หลังเรียนโดยใช้กลวิธี การสอนอ่านแบบ KWL-Plus
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ก่อนเรียนและหลังเรียน หลังใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบ KWL-Plus กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวนผู้เรียน 1 ห้องเรียน รวม 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อวัดความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า T-Test
ผลการทดสอบความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาหลังเรียนโดยใช้กลวิธี KWL-Plus พบว่า คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.16 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 51.6 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.92 และคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.92 คิดเป็นร้อยละ 69.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.8 แสดงให้เห็นว่า ผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). การใช้นิทานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน ความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและความตระหนักรู้ด้านจริยธรรมของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จิตรลดา คนยืน. (2550). การใช้กลวิธีการสอนแบบ KWL – Plus เพื่อพัฒนาการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ณภัทร ทิพธนามาศ. (2556). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ทรรศน์วรรณ พันธ์วงศ์. (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษและคุณลักษณะ
ใฝ่รู้ใฝ่เรียนของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL –
PLUS. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนิต คงเจริญสุข. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอนแบบ เค ดับบลิว แอล พลัส (KWL-Pius). วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธีราพร แซ่แห่ว, (2552). 2009 T.Saeheaw, N. Chakpitak and N. Adipattaranan “Improvement of the Non English Speaking University Students’ English Retention Through Constructionism Based Learning Environment” International conference on Software Knowledge Information Management and Applications (SKIMA 2009), Fez, Morocco, 21 – 23 October, 2009.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์คร้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พรรณพร วิริยะสกุลพันธุ์. (2557). การเปรียบเทียบความสามารถในการอาน และเจตคติตอการอ่านภาษาอังกฤษ โดยการจัด การเรียนรู้ด้วยวิธีเค ดับเบิลยูแอล พลัส (KWL-Plus) กับการจัดการเรียนรู้ ตามคู่มือครู ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 2 โรงเรียนสารสาสน์สมุทรสารจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
พาณิภัค สมประสงค์. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Travel
and weather ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ BSLIM. งานวิจัยในชั้นเรียน.
ไพศาล สุวรรณน้อย (2558). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL). สถาบัน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พิมพ์จินดา อาการส (2556). การสำรวจปัญหาและความต้องการพัฒนาทักษะการฟัง-การพูด ภาษาอังกฤษ ของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพขับเรือโดยสารบริเวณหาดอ่าวนาง จ.กระบี่. วิทยานิพนธ์ ศศ.บ. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล.
มนัสวี ดวงลอย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยา สาส์น.
สมบัติ คำมูลแก้ว. (2555). การใช้แผนผังความคิดร่วมกับการอภิปรายกลุ่ม เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ และความสามารถในการพูดนำเสนอของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อดิศักดิ์ ศรีวรกุล. (2556). การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ โดยใช้ B-SLIM Model ของนักเรียนระดับชั้น. ประถมปีที่ 4/7 ปีการศึกษา 2556. งานวิจัยชั้นเรียน.
อัญมณี พันสุภัค. (2556). ผลการสอนภาษาอังกฤษด้วยวิธี PANORAMA ร่วมกับเทคนิค KWL-Plus ที่มีต่อ
การอ่านเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.