การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการสอน แบบผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

Main Article Content

ไชยชาญ เผือดคล้าย
สิวลี ลี้ศิริวัฒนกุล
กานดา ธีระทองคำ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการสอนแบบผังกราฟิกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/7 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 39 คนซึ่งได้มาจากการวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบผังกราฟิกในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านจับใจความที่ใช้วิธีการสอนแบบผังกราฟิก และแบบทดสอบการประเมินผลความสามารถในการอ่านจับใจความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample
          ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีคะแนนจากแบบทดสอบการประเมินความสามารถในการอ่านจับใจความก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบผังกราฟิกแตกต่างกัน โดยผลคะแนนการประเมินผลความสามารถในการอ่านจับใจความก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบผังกราฟิก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.18 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.25 ระดับคะแนนการประเมินผลความสามารถในการอ่านจับใจความภายหลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบผังกราฟิกมีค่าเฉลี่ยของ


คะแนนสูงขึ้นเป็น 16.79 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 3.13 จึงสรุปได้ว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการอ่านจับใจความที่สูงขึ้นหลังจากการใช้รูปแบบการสอนการอ่านแบบผังกราฟิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ณรรฐวรรณ หนูเผือก. (2551). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ผังกราฟิกกับไม่ใช้เทคนิคผังกราฟิก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลย์สงคราม.

นฤมล บุญราศรี. (2557). ผลการใช้เทคนิค CIRC และผังความคิดที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนมัธยมโพนเพ็กจังหวัดขอนแก่น. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์: บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). หลักและวิธีการสอนระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แววมยุรา เหมือนนิล. (2556). การอ่านจับใจความ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2542). การอ่านเพื่อชีวิต. กรุงเทพมหานคร: เลิฟแอนด์ลิพเพรส.

สาริณี หนูหมาด, จุฑารัตน์ คชรัตน์, และ จุไรศิริ ชูรักษ์. (2557). การพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาไทยโดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การวิจัยแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทยสร้างเด็กไทยให้อ่านเก่ง อ่านเร็ว ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

สุภาภรณ์ นิ่มวิศิษย์. (2553). ผลการสอนอ่านโดยใช้ผังกราฟิกประกอบที่มีผลต่อความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุมาลี ชูบุญ. (2560). ผลการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับ ผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

Clarke, J. H. (1991). Using visual organizers to focus on thinking. Journal of Reading, 34 (7), 526–534.