ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL ที่มีต่อความสามารถในการอ่าน เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ปรีชญา สิทธิธัญกิจ
ศุภวรรณ สัจจพิบูล

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านวรรณคดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL กับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า จำนวน 2 ห้องเรียนจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 1 ห้องเรียน โดยใช้แบบแผนการวิจัย Pretest-Posttest Control Group Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL 2) แผนการจัดการเรียนรู้ปกติ 3) แบบทดสอบวัดความความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติ t-test for Dependent Samples และ t-test for Independent Samples
          ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL มีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL มีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร เสมาทอง. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยและความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL. วารสารวิชาการวิทยาลัยเเสงธรรม. 9 (2), 80-96.

ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน. (2557). จิตวิทยาการอ่าน = Psychology of reading: กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

นิรันดร์ ตั้งเมธีกุล. (2546). การสอนแบบ KWLH ด้วยการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจ ในการอ่านภาษาอังกฤษ พฤติกรรมด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และด้านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บันลือ พฤกษะวัน. (2538). มิติใหม่ในการสอนอ่าน = The new dimensions in the teaching of reading: กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ปรียาภรณ์ ยงขามป้อม. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWDL. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่”, 109-119.

ทวีรัตน์ พวงรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8 ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้จัดจำหน่าย.

พิมพาภรณ์ สุขพ่วง. (2548). การพัฒนาผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือกัน แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDL. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศิลปากร

วรุณ กาฬพันธ์. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญที่สร้างสรรค์ชาติไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิจิตรา นรสิงห์. (2540). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธี KWL Plus กับการสอนอ่านตามคู่มือครู. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิวกานต์ ปทุมสูติ. (2540). การอ่านเพื่อชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อ แกรมมี่.

โกศิยะกุล. (2557). หลักการอ่านการเขียนคำไทย: นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2547). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย: กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดิเรก เฉลียวฉลาด. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค KWDL กับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

Donna M. Ogle. (1986). K-W-L: A teaching model that develops active reading of expository text. Reading Teacher. 39 (6), 564-570.

Liang Junping. (2563). การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทยโดยใช้เทคนิค KWDL สำหรับนักศึกษาชั้นปี ที่ 3 มหาวิทยาลัยเหอฉือ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. 8 (3), 394-406.

Shaw, J.M., and Others. (1997). Cooperative Problem Solving: Using K W D L as an Organizational Technique. U.S.A.: Teaching Children Mathematics. 3 (39): 482-486