ปัจจัยที่ทำให้มีการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำกลางอุดรธานี

Main Article Content

ภานุวัฒน์ มีเพียร
บุญเหลือ บุบผามาลา

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ทำให้มีการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำกลางอุดรธานี มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้มีการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำกลางอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ต้องขังคดีเด็ดขาดชายต้องโทษจำคุกครั้งที่ 2 ขึ้นไปในคดี     ยาเสพติด ภายในเรือนจำกลางอุดรธานี จำนวน 292 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)  โดยทดสอบสมมติฐานหาความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ผลการศึกษาพบว่า
          ปัจจัยที่ทำให้มีการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำกลางอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยที่ทำให้มีการกระทำผิดซ้ำเป็นอันดับหนึ่ง คือ    ด้านเศรษฐกิจ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านครอบครัว อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการต้องโทษในครั้งก่อน ด้านชุมชนและสังคม ด้านการประกอบอาชีพ และด้านการคบเพื่อน อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
          การเปรียบเทียบปัจจัยที่ทำให้มีการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำกลางอุดรธานี   ที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกัน พบว่า ผู้ต้องขังที่มีอาชีพก่อนต้องโทษ รายได้ก่อนต้องโทษ ประเภทของยาเสพติด ฐานความผิด และกำหนดโทษจำคุกต่างกัน มีปัจจัยที่ทำให้มีการกระทำผิดซ้ำ โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ต้องขังที่มีอายุต่างกัน มีปัจจัยที่ทำให้มีการกระทำผิดซ้ำ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการประกอบอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้ต้องขังที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีปัจจัยที่ทำให้มีการกระทำผิดซ้ำ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน         เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการคบเพื่อน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ต้องขังที่มีจำนวนครั้งต้องโทษจำคุกต่างกัน มีปัจจัยที่ทำให้มีการกระทำผิดซ้ำ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านเศรษฐกิจ และด้านการประกอบอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
          แนวทางป้องกันการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำกลางอุดรธานี ควรมีการฝึกอาชีพให้ตรงตามความต้องการของผู้ต้องขัง หรือหลากหลายสาขาอาชีพมากขึ้น เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริงภายหลังพ้นโทษ และควรมีการจัดอบรมโปรแกรมปรับทัศนคติของผู้ต้องขังเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเองและครอบครัวขณะต้องโทษอยู่ในเรือนจำ รวมถึงจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวให้มีความรักความเข้าใจกันมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุรฉัตร จันทร์แดง และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่ตะเข็บชนแดนลุ่มน้ำโขง. วิทยานิพนธ์คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นัทธี จิตสว่าง. (ม.ป.ป.). หลักทัณฑวิทยา : หลักการวิเคราะห์ระบบราชทัณฑ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพิบูลสงเคราะห์ กรมราชทัณฑ์.

นภา อินธิบาล.( 2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด: กรณีศึกษาเรือนจำ กลางชลบุรี. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบรูพา.

นุชนาฏ มุกุระ. (2554) . ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำกลางเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วัชริศพล มนต์มณีรัตน์.( 2555). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคลที่กระทาผิดซ้าในคดียาเสพติด. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล. วิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถานบันวิชาการป้องกันประเทศ.

วีระชัย เหล่าลงอินทร์ และคณะ .(2552). การกระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.