การวางแผนการเงินส่วนบุคคลของประชากรวัยทำงานในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

สมบูรณ์ สารพัด
ศิรินุช อินละคร
ชไมพร ชินโชติ

บทคัดย่อ

          การวางแผนทางการเงินเป็นส่วนที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ เพราะเป็นหลักประกันถึงความมั่นคงของชีวิตบุคคลอันจะนำมาซึ่งความผาสุกและเพิ่มคุณภาพชีวิต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเภทของการวางแผนบริหารการเงินส่วนบุคคล  (การวางแผนเพื่อสร้างความมั่งคั่ง ปกป้องความมั่งคั่ง เพิ่มพูนความมั่งคั่ง และส่งมอบความมั่งคั่ง) ของกลุ่มวัยทำงานในจังหวัดชลบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของประเภทการวางแผนบริหารการเงินส่วนบุคคลโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยเก็บข้อมูลจากการสุ่มกลุ่มคนวัยทำงานในชลบุรี  คนเพื่อตอบแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
          ผลการวิจัยพบว่า ประเภทของการวางแผนบริหารการเงินส่วนบุคคล ที่กลุ่มวัยทำงานในจังหวัดชลบุรีเลือกใช้มากที่สุดคือ การสร้างความมั่งคั่ง (ผ่านการวางแผนเงินออม วางแผนใช้จ่ายเงิน วางแผนหนี้สิน) โดยอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลให้ประเภทการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลแตกต่างกันทั้งสี่ด้าน เพศที่แตกต่างส่งผลต่อประเภทการวางแผนทางการเงินที่แตกต่างด้านการสร้างความมั่งคั่ง นอกจากนี้ สถานภาพที่แตกต่างกันส่งผลให้การตัดสินใจวางแผนการเงินส่วนบุคคลแตกต่างกันในด้านการปกป้องความมั่งคั่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตภาส เลิศสงคราม. (2555). พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของพนักงานบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. สารนิพนธ์ เศรษฐศาสตร์การพัฒนามนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ.

กิจติพร สิทธิพันธุ์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จุฑามาส อังษร. (2553). วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลเพื่อชีวิตวัยเกษียณ. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฐานิศร์ สุพัฒน์วัชรานนท์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการวางแผนการเงิน ส่วนบุคคลของกลุ่มวัยทำงาน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐาปณี ไตรทอง. (2555). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคลากรในมหาวิทยาลัยรามคำแหง. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). การให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิต. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ. 5 กุมภาพันธ์ 2560. แหล่งที่มา: http://www2.bot.or.th/statistics/ ReportPage. aspx?reportID=757& language=th

พัฒนี ทองพึง. (2555). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล: กรณีศึกษาเฉพาะครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิกุล ปัญญา. (2554). พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของเจ้าหน้าที่การตลาดบริษัทหลักทรัพย์. สารนิพนธ์ ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์การจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.

วราลักษณ์ ลิ่มกาญจนา และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมเพื่อเตรียมความพร้อมทางการเงิน เพื่อวัยเกษียณ: กรณีศึกษาพนักงานธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ภาคใต้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 19 (2), 28-45.

วิไล เอื้อปิยฉัตร. (2556). ความรู้ทางการเงิน: ตัวกำหนดและผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรมการออม. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิชิต อู่อ้น. (2553). การวิจัยและการสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศิรินุช อินละคร. (2552). การเงินบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

สนทยา เขมวิรัตน์ และ ดวงใจ เขมวิรัตน์. (2552). การวางแผนทางการเงินของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. คณะบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

สนทยา เขมวิรัตน์ และ ดวงใจ เขมวิรัตน์. (2556). การวางแผนทางการเงินของบุคลากรกรกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในเขตกรุงเทพมหานคร. คณะบริหารธุรกิจ. บัณฑฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สำนักงานสถิติจังหวัดชลบุรี. (2559). สถิติรายได้และรายจ่ายของครัวเรือนในจังหวัดชลบุรี โดยจำแนกตามสถานะทางเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือน ปี พ.ศ. 2558. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2560, แหล่งที่มา: http://chonburi.nso.go.th/index.php?option=comcontent&view=article&id =246:8-3-2560&catid=102&Itemid=507

สุขใจ น้ำผุด และ อนุชนาฎ เจริญจิตรกรรม. (2551). กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อภิชญา จิ๋วพัฒนกุล และคณะ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมและการใช้จ่ายของผู้สูงอายุ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3 (6), 178-194.

Adem, A. and Melek, E. (2010). An Empirical Investigation for Determining of the Relation Between Personal Financial Risk Tolerance and Demographic Characteristic. Ege Academic Review, 10 (2), 503-522.

Brian, K. (2010). Educating Widows in Personal Financial Planning. Journal of Financial Counseling and Planning, 21 (2), 1-13.

Glenn, M. and Mary,W. (2013). Personal Financial Management Education: An Alternative Paradigm. Journal of Financial Counseling and Planning. 15 (2), 79-88.

Panthongkhum, N. and Numniem, S. (2016). Factors Related to the Behavior of Financial Discipline of Undergraduate Students, Kasetsart University, Kamphaeng Sean Campus. Veridian E-Journal Silpakorn University, 9 (2), 1890-1900.

Sherman H. D. and Suzanne, L. (2010). Quantifying the Economic Benefits of Personal Financial Planning. Financial Services Review, 19 (2), 1-21.