ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บรรยากาศองค์การในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 45 คน และครู จำนวน 799 คน รวมทั้งสิ้น 844 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 265 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.932 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายโดยวิธีของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า 1. บรรยากาศองค์การในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านโครงสร้าง รองลงมาคือ ด้านการสนับสนุน ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านความรับผิดชอบ 2. การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมเกื้อหนุน ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านร่วมกันเรียนรู้สู่การปฏิบัติ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในทิศทางบวก และมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก
Article Details
References
จารุณี ผลพิทักษ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การกับการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองห้า จังหวัดปทุมธานี. ภาคนิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์.
จุลลี่ ศรีษะโคตร. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.
ดวิษา สังคหะ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-3. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธนักษร สืบสาย. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การศึกษาค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มงคลชัย วิริยะพินิจ. (2554). รวมแนวคิดหลากมุมมอง องค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ส่องศยาม.
มุกดา ขวัญกลาง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของพนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
วันเพ็ญ นาคเครือ และวินัย ทองภูบาล. (2558). การศึกษาบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ พ.ศ. 2558.
วิจารณ์ พานิช. (2559). บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สราพร นุ่มดี. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสหวิทยาเขตวังทองหลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุรพล ธรรมร่มดี และคณะ. (2553). อาศรมศิลป์วิจัย : การวิจัยและการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้แนวจิตตปัญญา. โครงการเอกสารวิชาการเรียนรู้สู่การแลกเปลี่ยน. นครปฐม: เอมี่เอ็นเตอร์ไพรส์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานระยะ 4 ปี (พ.ศ.2555 - 2558). กลุ่มนโยบายและแผน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการอบรมคณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการPLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กลุ่มวิจัยและพัฒนานโยบาย. สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560- 2564). สำนักนายกรัฐมนตรี.
อิทธิศักดิ์ ศิริจันทร์ และชัยอนันต์ มั่นคง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 14 (1), 11-21.
Fox, Robert S. and others. (1973). School climate improvement : a challenge to the school administrator. Colorado : Phi Delta Kappa, 3.
Gibson, J. L. (1973). Organization:Structure,Processes,Behavior. Taxas:Business Publication, 328 – 329.
Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: What are they are and why are they important. Issues About Change. 6 (1), Austin,TX: Southwest Educational Development Laboratory, 14-23.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 607-610.
Stringer, R. (2002). Leadership and Organizational Climate :The Cloud Chamber Effect Upper Saddle River. NJ : Pearson Education, 9.