แนวทางการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

ปวินญาพัฒน์ วรพันธ์
ชัยรัตน์ โตศิลา
อัญชลี สุขในสิทธิ์

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และแนวทางการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิจัยผสมผสาน โดยเก็บข้อมูล 2 ระยะ คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในสังกัดสำนักงาศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 800 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คนโดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและแบบสัมภาษณ์สำหรับการศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
          ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบพบว่า นักเรียนมีทักษะทางสังคมในทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากเช่นกัน  และ 2) แนวทางการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มีดังนี้ 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรส่งเสริมให้มีการอภิปราย            การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ การใช้กรณีศึกษา การทำกิจกรรมด้วยเกม วิธีสอนแบบแก้ปัญหา และการจัดกิจกรรมแบบภาคสนาม 2) การจัดสภาพแวดล้อม จัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่ม เน้นการฝึกปฏิบัติ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ครูให้อิสระทางความคิดทางวิชาการแก่นักเรียน 3) สื่อการเรียนรู้ต้องเป็นรูปธรรมที่นักเรียนเห็นได้ง่าย จับต้องได้ สอดคล้องกับสถานการณ์บริบทความแวดล้อมทางสังคมหรือเนื้อหาที่เรียน ควรเลือกสื่อที่เหมาะสมและแตกต่างโดยขึ้นอยู่กับความแตกต่างของผู้เรียน และ 4) การวัดและประเมินผลควรเน้นที่พฤติกรรมที่แสดงออกของนักเรียนเป็นหลัก โดยใช้การประเมินตามสภาพจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา = Intellectual disabilities. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิพย์วัลย์ สุรินยา. (2558). อิทธิพลของความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง การควบคุมความโกรธ พฤติกรรมการจัดการกับปัญหาและทัศนคติต่อการใช้ความรุนแรงต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กวัยร่นชายไทย. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 21 (2), 193-244.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล อุดมคุณ. (2552). การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยด้านนวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้ำผึ้ง เลาหบุตร และ ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และทักษะทางสังคมโดยจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบโครงการสําหรับเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. 16 (1), 153-161.

ปวินญาพัฒน์ วรพันธ์ ชัยรัตน์ โตศิลา และอัญชลี สุขในสิทธิ์. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 22 (1). 90-101.

ผการัตน์ ใยทอง. (2559). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างจิตห้าลักษณะของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

พระปลัดราชันย์ ขวัญเมือง, ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และไสว ฟักขาว. (2564). พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9 (4), 1627-1640.

ยุพิน ตุ้มโหมด. (2546). การศึกษาเปรียบเทียบผลการเสริมสร้างความรู้และทักษะทางสังคม ระหว่างการใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์กับการใช้สื่อสิ่งพิมพ์แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนภัทรญาณวิทยา จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยุสนีย์ โสมทัศน์. (2559). ความสามารถในการคิดรวบยอดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิประเทศแบบคาสตร์ด้วยวิธีการสอนแบบปฏิบัติการภาคสนาม. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 53.

เรณู เบ้าวรรณ. (2558). วิจัยปฏิบัติการ : การพัฒนาทักษะทางสังคมและจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องเรียนอัจฉริยะด้วยการเรียนแบบร่วมมือ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรรณี เบญจวัฒนาผล. (2558). ความขัดแย้งของนักเรียนนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 7 (2), 38–45.

วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2555). ครูสังคมศึกษากับการพัฒนาทักษะแก่นักเรียน. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันเพ็ญ พินทอง. (2557). การใช้กิจกรรมที่เน้นกลวิธีอภิปัญญาและกลวิธีทางสังคมเพื่อส่งเสริมในความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ. วารสารศึกษาศาสตร์. 19 (2), 15-32.

สำเนียง จุลเสริม. (2552). การใช้การทดลองแบบอนุกรมเวลาเพื่อศึกษาผลของการใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์คุรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิรจิตต์ เดชอมรชัย. (2562). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสเชิงรุกโดยใช้กระบวนการกลุ่ม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 19 (2), 83-101.

สุดาพร ปัญญาพฤกษ์ และ เสริมศรี ไชยศร. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดคอนสตรักติวิสต์เชิงสังคม เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพครูยุคใหม่. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ. 9 (2), 15–26.

สุวัฒนา เอี่ยมอรพรรณ. (2549). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

อ้อมฤดี วีระกะลัส และ ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน. (2555). ต้นทุนชีวิต ทักษะทางสังคม การมองโลกในแง่ดี และความเข้มแข็งในการมองโลกของเยาวชนชายที่ถูกคุมประพฤติของสำนักงานคุมประพฤติในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 38 (2), 179-195.

เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ. (2559). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสร้างความรู้ใหม่โดยใช้เกมการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 14 (1), 54-59.

เอมอร จังศิริพรปกรณ์. (2546). การประเมินผลการเรียนรู้. ใน สุวิมล ว่องวาณิช (บรรณาธิการ). การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gardner, H. (2006). Multiple Intelligences New Horizons. New York: Basic Books.

Jim Ollhoff and Laurie Ollhoff. (2004). Getting Along: Teaching Social Skills to Children and Youth. London: Sparrow Media Group.

Oldfather, P., Wesr, J., White, J., & Wilmarth, J. (1999). Learning through Children’s Eyes: Social Constructivism and the Desire to Learn. Washington: American Psychological Association.

Vygotsky, Lev Semyonovich. (1978). Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes. Cambridge, M.A.: Harvard University Press. Online. Retrieved October 14, 2018, from: http://generative.edb.utexas.edu/classes/kn l2008sum2/eweekly/Vygotsky 1978.pdf.

WHO. (1999). The world health report 1999 - making a difference. France: Sadong.