ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชายเรือนจำกลางนครสวรรค์

Main Article Content

นพคุณ นำจิตรไทย

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชาย  2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจริต 6 กับปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชาย และ 3) ศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชาย ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ต้องขังชายในเรือนจำกลางนครสวรรค์ จำนวน 357 คน ซึ่งได้จากการแทนค่าในสูตรของยามาเน่ (Yamane) วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชาย พบว่า หลักจริต 6 ที่ส่งผลต่อการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชายเรือนจำกลางนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชายเรือนจำกลางนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างจริต 6 กับปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชาย พบว่า หลักจริต 6 มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชายเรือนจำกลางนครสวรรค์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = 0.881) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชาย พบว่า เรือนจำควรดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติ กล่าวคือ การกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการผู้ต้องขัง การสร้างเครือข่ายภาคีเครือข่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. (2562). รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561.แหล่งที่มา: http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_result.php?date=2019-11-01& report=.

เรือนจำกลางนครสวรรค์. (2562). รายงานฐานข้อมูล 17 ระบบของฝ่ายทัณฑปฏิบัติ. เรือนจำกลางนครสวรรค์. (อัดสำเนา).

ทรรศพล ขุนรัง. (2556). สาเหตุการกระทำผิดซ้ำคดีเกี่ยวกับทรัพย์: ศึกษาเฉพาะกรณีความผิดฐานลักทรัพย์นักโทษเด็ดขาดฝ่ายควบคุมแดน 8 เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.

วีระชัย เหล่าลงอินทร์. (2552). การกระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 3 (1), 29-38.

เดชา จินตกสิการ และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติด ในเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นิมิต ทัพวนานต์. (2561). การพัฒนาแนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังไร้ญาติ. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 60.