ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการใช้บริการและพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการธุรกิจขนส่งสินค้าบริเวณจุดผ่านแดนถาวร ด่านสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว 1 จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการใช้บริการและพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการธุรกิจขนส่งสินค้า ณ บริเวณจุดผ่านแดนถาวร ด่านสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว 1 จังหวัดหนองคาย
โดยผู้วิจัยกำหนดระเบียบวิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research)
จากการรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากผู้ใช้บริการขนส่งสินค้า ณ บริเวณดังกล่าว ทั้งสิ้น 400 คน
โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้า ณ บริเวณจุดผ่านแดนถาวรดังกล่าว มีความต้องการให้ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าดำเนินการโฆษณาในสื่อต่าง ๆ มีกระบวนการทำงานที่รวดเร็ว และจัดให้มีการบริการที่มีมาตรฐานเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ 2. ผู้ใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้ามีพฤติกรรมการเลือกใช้บริการจากปัจจัยด้านราคา และการจัดให้มีบริการด้านการติดตาม (tracking) และมีบริการที่เป็นมาตรฐาน3. จากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการใช้บริการบริษัทรถขนส่งสินค้ากับพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) พบว่าปัจจัย ด้านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริการ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้า ด้านปัจจัยในการเลือกใช้ ด้านจำนวนครั้งในการใช้บริการ ด้านการรับประกันสินค้า ด้านการกลับมาใช้บริการกับบริษัทเดิม และด้านการแนะนำให้บุคคลอื่นมาใช้บริการเดียวกัน ด้านคุณภาพในการให้บริการ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้า ด้านปัจจัยในการเลือกใช้ ด้านความถี่ในการใช้บริการด้านจำนวนครั้งในการใช้บริการ ด้านบริการที่ต้องการ และด้านการแนะนำบุคคลอื่นมาใช้บริการเดียวกัน
ด้านเจตคติที่มีต่อเครื่องหมายการค้า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้า
ด้านการรู้จักบริษัทขนส่งสินค้า ด้านปัจจัยในการเลือกใช้ ด้านความถี่ในการใช้บริการ ด้านจำนวนครั้งในการใช้บริการด้านบริการที่ต้องการ และด้านการแนะนำบุคคลอื่นมาใช้บริการเดียวกัน ด้านความเชื่อมั่นในบริการมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้า ด้านปัจจัยในการเลือกใช้ ความถี่ในการใช้บริการ ด้านบริการที่ต้องการ และด้านการแนะนำบุคคลอื่นมาใช้บริการเดียวกัน
Article Details
References
กรมการค้าต่างประเทศ. (2563). สถิติการค้าชายแดนผ่านแดน ปี 2561-2563 (มค.-กย.). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.dft.go.th/Portals/3/ชายแดนผ่านแดน%20ปี61-63 (มค.-กย.63).pdf
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: หจก.สามลดา.
กัลยา วานิชย์บัญชา และ ฐิตา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามลดา.
กาญจน์สิตา โฆสิตธัญญสิทธิ์ และ ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกผู้ให้บริการ
โลจิสติกส์ในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม. RMUTT Global Business and Economics Review. 11 (1), 139-157.
ณิชาภัทร บัวแก้ว. (2561). พฤติกรรมการใช้บริการ คุณภาพ และประสิทธิภาพที่ได้รับที่ส่งผลต่อการใช้บริการซ้ำเปรียบเทียบระหว่างบริษัท ขนส่งเคอรี่เอ็กเพรส จำกัด และบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ภัทรสุดา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2562). RCEP โอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจไทย. GSB Research
(เดือนธันวาคม 2562).
วรัสสิญา ศุภธนโชติพงศ์. (2562). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะใช้บริการซ้ำของลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษาพื้นที่ส่วนกลางกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.