การพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษากลุ่มที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

Main Article Content

อมราลักษณ์ คล้ายเรือง
วาสนา ขัตติยวงษ์
สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษากลุ่มที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่ ครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายเดียวกัน จำนวน 118 คน ได้มาโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือคือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มี 5 ระดับมีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่
          ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษากลุ่มที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า 2.1) ครูที่มีเพศต่างกันมีการพัฒนาตนเองโดยรวมไม่แตกต่างกัน 2.2) ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีการพัฒนาตนเอง โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านบุคลิกภาพแตกต่างกัน 2.3) ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีการพัฒนาตนเองโดยรวมแตกต่างกันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านวิชาชีพและด้านบุคลิกภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  ระดับ .05 ส่วนด้านวิสัยทัศน์ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2547). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา. ลาดพร้าว.

ณรงค์ รอดพันธุ์. (2542). ครูกับการพัฒนาตนเอง. วารสารข้าราชการครู. 98 (19), 37–39.

ดวงกมล แสงวิเศษ. (2560). การพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียนสำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุรีวิริยาสาส์น.

ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์. (2550). การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของครูผู้สอนในโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยนต์ ชุ่มจิตร. (2558). การพัฒนาครู. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยและการแปลความหมาย. ข่าวสารวิจัยทางการศึกษา. 18 (3), 8-11.

สุดารัตน์ รวมธรรม. (2560). การพัฒนาตนเองของครูในโรงเรียนกลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพเครือข่ายที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สุภาภรณ์ สนใจยิ่ง. (2557). การพัฒนาตนเองของครูในสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). การทำวิจัยแบบง่าย : บันไดสู่ครูนักวิจัย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). กลยุทธ์ ปี พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษาด้านจรรยาบรรณวิชาชีพครู. กรุงเทพมหานคร: สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2541). เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การสังเคราะห์สภาวการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

อรรณพ จีนะวัฒน. (2559). การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9 (2). 1379-1395.

Cronbach Lee Joseph. (1974). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row Publishers.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3). 607-610.