ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย นครธัญญะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายนครธัญญะ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายนครธัญญะ จำแนกตามวุฒิการศึกษาและะประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ครูโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายนครธัญญะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จาก 6 โรงเรียน จำนวน 140 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายนครธัญญะ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารทั่วไป และด้านการบริหารงบประมาณ 2) ครูที่มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายนครธัญญะ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กีรติคุณ มินทร และรัตนา กาญจนพันธุ์. (2564). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจสิริสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (1). 154-168.
กฤษณา ศรีจําปา. (2560). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ของกลุ่มโรงเรียนในเครือข่ายที่ 73 กรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.edujournal.ru.ac.th/index.php/abstractData/indexBy.ru?bid=2 &AbstractDataModel_page=29&AbstractDataModel_sort=dept_id.desc
คอตีเยาะ ยูโซ๊ะ. (2555). ความพึงพอใจของครูต่อสภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
เฉลียว ศิริมาศ. (2553). ความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
เบญญาภา เชื้อเล็ก. (2560). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 9 จังหวัดสุพรรณบุรี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/819.ru
ประจงศักดิ์ สถิตน้อย. (2553). ความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนบ้านศรีทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ภัทรกร มิ่งขวัญ. (2559). การศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
มนตรี ดวงสิน. (2553). การความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารของโรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดเก่าสังกัดเทศบาลเมืองกระบี่. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ลัดดาวัลย์ ใจไว. (2558). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนศรีราชา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศรราม รูปสอาด และศิริพงษ์ เศาภายน. (2564). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (2). 59-71.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2545). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนนาร่อง รูปแบบที่คัดสรร.กรุงเทพมหานคร. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส พี เคเปเปอร์แอนด์ฟอร์ม.
อาคม วัดไธสง. (2547). หน้าที่ผู้นำในการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อุดม ธาระณะ. (2553). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (3rd ed.). New York: Harper & Collins.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Education and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.