บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษากลุ่มที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

Main Article Content

เกียรติศักดิ์ สาสุทธิ์
วราภรณ์ โพธิ์งาม
เอก เกิดเต็มภูมิ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ประชากร ได้แก่ ครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา กลุ่มที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 170 คน จาก 8 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายเดียวกัน จำนวน 111 คน ได้มาจากการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่     ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู  โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา กลุ่มที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 พบว่า ครูที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน ต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


    

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัญ สุขเสรี. (2550). การส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษานครราชสีมา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

ธีระพงษ์ บุตรดี. (2556). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนในจังหวัดนครพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนครพนม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุณยาพร พันธ์โพธิ์ทอง. (2564). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ในจังหวัดสระบุรี. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (3), 185-198.

เบญจวรรณ ช่อชู และพร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2563). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนวิชูทิศ สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 7 (2), 162-174.

วิภารัตน์ เสนี และศิลป์ชัย สุวรรณมณี. (2561). การส่งเสริมการทาวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9. หาดใหญ่: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อนุสา บุญเรือง. (2554). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูเครือข่ายที่ 37 เขตลาดกระบัง สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อังคารพิสุทธิ์ สยามประโคน. (2559). บทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Cronbach Lee Joseph. (1974). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row Publishers.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3). 607-610.