คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ของครูในโรงเรียนเขตอำเภอสามโคก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ของครูในโรงเรียนเขตอำเภอสามโคก และ 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ของครูโรงเรียนในเขตอำเภอสามโคก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ประชากรได้แก่ ครูในโรงเรียนเขตอำเภอสามโคก จำนวน 321 คนจาก 22 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูในโรงเรียนเขตอำเภอสามโคก สุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ของครูในโรงเรียนเขตอำเภอสามโคก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ครูที่มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ของครูในโรงเรียนเขตอำเภอสามโคก โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
จินดา พุ่มสกุล. (2553). คุณลักษณะผู้บริหารที่พึงประสงค์ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม.(การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
เต็มสิริ ทิพย์จันทา. (2553). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
บุษบา คำนนท์. (2559). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ในทัศนะของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรทิพย์ สุขเอียด. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลา.
รัฐธรรมนูญแห่งงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550”. (24 สิงหาคม 2550). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 หน้า 15.
ศุภมาส วิสัชนาม. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์. ค.ม.(การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สมพงษ์ นาคเจือ. (2558). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการครูโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุมน สุขเอียด. (2556). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามการรับรู้ของครูอาจารย์ในเครือโรงเรียนส่องแสง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุนันทา พ่วงทอง. (2554). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในทัศนะของครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2553). ผู้บริหารโรงเรียน: บทบาทและความท้าทายในยุคปฏิรูปการศึกษา ไทยในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). แพร่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2.
แสงแข ทิพย์อักษร และ ปิ่นณิชา อุตตมะเวทิน. (2564). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูในกลุ่มโรงเรียนอำเภอศรีสวัสดิ์ 2. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7 (1), 658-667.
Cronbach Lee Joseph. (1974). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row Publishers.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3). 607-610.