การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านให้มีประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ (E1 / E2) ตามเกณฑ์ 75 / 75 2) เพื่อพัฒนาการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีระดับการรู้วิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์อยู่ที่ระดับ 3 ร้อยละ 80 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมืองมหาสารคามจังหวัดมหาสารคามจำนวน 32 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 2) แบบทดสอบการรู้วิทยาศาสตร์จำนวน 16 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านมีประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ (E1/E2) เท่ากับ 80.44 / 77.20 ผ่านเกณฑ์ที่กําหนดไว้ที่ 75/75 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 มีระดับการรู้วิทยาศาสตร์อยู่ที่ระดับ 3 ผ่านเกณฑ์ที่กําหนดไว้ที่ระดับ 3 ร้อยละ 96.87 จะเห็นได้ว่าแผนการจัดการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านมีประสิทธิภาพสามารถส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้
Article Details
References
กมลรัตน์ ฉิมพาลี และ ประสาท เนืองเฉลิม. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดอย่างมีวิจารณญาณการรู้วิทยาศาสตร์และเหตุผลเชิงจริยธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมและการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กฤติยาณี เจริญลอย และศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2558). การพัฒนาการรู้วิทยาศาสตร์เรื่องพันธุกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ .(2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1), 1-20.
ทิศนา แขมมณี.(2563). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
(พิมพ์ครั้งที่19). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). แนวการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต. 9 (1), 136–154.
ภาณุวัฒน์ เวทำและ สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2559). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วสันต์ ศรีหิรัญ. (2560). ห้องเรียนกลับด้านกับการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking with Flipped Classroom). วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 14 (65), 19–28.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพมหานคร: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2018 ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2563. แหล่งที่มา: https://drive.google.com/ file/d/18DKq GcId1dN6IWF07TXG8YZsQOg-NlWZ/view
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี กับการบูรณาการสู่แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาจังหวัด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2563. แหล่งที่มา: https://www. bu.ac.th/web/files_up/03f2017041813215099.pdf
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ตัวอย่างข้อสอบ การประเมินผลนานาชาติ PISA และ TIMSS วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุรศักดิ์ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียน มิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2563.แหล่งที่มา : http://www.mbuisc.ac.th/phd/academic/flipped%20 classroom2.pdf
อัสวิน ธะนะปัต, ศศิเทพ ปิติพรเทพิน และพัฒนี จันทรโรทัย (2558). การพัฒนาทักษะการโต้แย้งของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในหน่วยการเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3 (2), 14-24.
Lin, S. and Mintzes, J. (2010). “Leaming argunenation skill through instuction in sosio-scientific issue : The effect of ability level”. International Journal of Science and Mathematics Education, 8 (6), 993–1017.
Nuangchalerm, P. (2010). Engaging Students to perceive Nature of Science through Socio-scientific Issues-based Instruction. European Journal of Social Sciences. 13 (1),34-37.
Organisation for Economic Cooperation and Development. (2015). PISA 2015 Science Framework. Online. RetrievedJune 6 2019. Available from : https://www.oecd.org/ education/pisa-2015-assessment-and-analytical-framework-9789264281820-en.htm
Sadler, T. and Zeidler, D. L. (2009). Scientific literacy, PISA, and socio-scientific discourse: Assessment for progressive aims of science education. Journal of Research in Science Teaching, 46 (8), 909–921.
Sadler, T. D., and Zeidler, D. L. (2005). Patterns of informal reasoning in the context of socio-scientific decision making. Journal of Research in Science Teaching, 42 (1), 112–138.