การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร บัญชีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ระหว่างผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) กับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา หรือเทียบเท่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษารับเข้าศึกษาในหลักสูตรบัญชีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ระหว่างผู้สำเร็จการกลุ่มมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) กับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา หรือเทียบเท่า การศึกษาในครั้งนี้ใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ซึ่งได้จากการรวบรวมข้อมูลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2560 โดยติดตามข้อมูลของนักศึกษารับเข้าปีดังกล่าวตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2560 จนถึงชั้นปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2563 เกี่ยวกับคุณสมบัติการรับเข้าศึกษา วิธีการรับเข้าศึกษา ผลการศึกษาจากสถานศึกษาเดิม พื้นที่ตั้งของสถานศึกษาเดิม ผลการเรียน และจำนวนรายวิชาที่นักศึกษาไม่ผ่านตามแผนการเรียนในแต่ละชั้นปี โดยใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติ Independent Sample t-test และ One-Way Analysis of Variance (One-Way ANOVA) ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ประมวลผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตรบัญชีบัณฑิต กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) กับกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา หรือเทียบเท่า
ผลการศึกษาพบว่า 1.) กลุ่มนักศึกษารับเข้าซึ่งมีคุณสมบัติการรับเข้าศึกษาที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษากลุ่มมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) กับกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา หรือเทียบเท่า มีผลต่อผลการเรียนของนักศึกษาใน
ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 4 แตกต่างกัน 2.) วิธีการรับเข้าศึกษาที่แตกต่างกันระหว่างการรับเข้าด้วยวิธีโควต้ากับวิธีรับตรงปกติ มีผลต่อผลการเรียนของนักศึกษาในทุกชั้นปีแตกต่างกัน 3.) นักศึกษาที่ผลการเรียนจากสถานศึกษาเดิมแตกต่างกัน มีผลต่อผลการเรียนของนักศึกษาในชั้นปีที่ 2 และปีที่ 3 แตกต่างกัน 4.) กลุ่มนักศึกษารับเข้าซึ่งมีคุณสมบัติการรับเข้าศึกษาที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษากลุ่มมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) กับกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา หรือเทียบเท่า มีผลต่อจำนวนรายวิชาที่นักศึกษาไม่ผ่านตามแผนการเรียนในทุกชั้นปีแตกต่างกัน 5.) วิธีการรับเข้าศึกษาที่แตกต่างกันระหว่างการรับเข้าด้วยวิธีโควตากับวิธีรับตรงปกติ มีผลต่อจำนวนรายวิชาที่นักศึกษาไม่ผ่านตามแผนการเรียนในชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 แตกต่างกัน 6.) เขตพื้นที่ตั้งของสถานศึกษาเดิมแตกต่างกันมีผลต่อจำนวนรายวิชาที่นักศึกษาไม่ผ่านตามแผนการเรียนในชั้นปีที่ 1 แตกต่างกัน
Article Details
References
คณะกรรมการดำเนินงานวิจัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำร็จในการศึกษาระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564.แหล่งที่มา: http://www.nst.ru.ac.th/file/Research/ Research56/2.pdf
ธิติมา พลับพลึง และ ปิยพงศ์ พลับพลึง. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เข้าเรียนโดยวิธีโควตาและการสอบคัดเลือกของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: http://dric.nrct.go.th/ Search/SearchDetail/231234
ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในระดับปริญญาโทของสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ ปีการศึกษา 2554. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564.แหล่งที่มา: http://www.nida.ac.th/th/download/publication/NIDA-research-2.pdf
นีลนารา ศรีสำราญ. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ผ่านการสอบคัดเลือกโดยวิธีรับตรงและวิธีรับผ่านส่วนกลาง ปีการศึกษา 2551-2554. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 9 (2), 65-96.
ราตรี ธรรมคำ. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนของนักศึกษาที่สอบคัดเลือกระบบมหิดลรับตรง และระบบกลาง กรณีศึกษาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Journal of Professional Routine to Research. 4, 9-17.
รวีวรรณ งามสันติกุล. (2558). การทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรีภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาแบบสอบตรง. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาตร์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 6 (2), 127-14