การประเมินโครงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ของวิทยาลัยสารพัดช่างกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โครงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของวิทยาลัยสารพัดช่างกาญจนบุรี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 63 คน นักเรียน นักศึกษา จำนวน 306 คน ผู้ปกครอง จำนวน 285 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามของครูและบุคลากรทางการศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 แบบสอบถามของนักเรียน นักศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และแบบสอบถามของผู้ปกครอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า (1) การประเมินโครงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของวิทยาลัยสารพัดช่างกาญจนบุรี ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในภาพรวม มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามค่าเฉลี่ยคือ ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม ด้านผลผลิต ด้านปัจจัยเบื้องต้น และด้านกระบวนการ ส่วนตามความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง ในภาพรวม มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยคือ ด้านผลผลิต ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น และด้านกระบวนการ (2) ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น และด้านผลผลิต
ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาในภาพรวม มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนตามความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครองในภาพรวม มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (3) ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง ในภาพรวม มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กัลยา ศรีวิเชียร. (2557). การประเมินโครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). การสอนเด็กที่มีความบกพร่องระดับเล็กน้อย. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พลับลิสซิ่ง.
ณัฐภัค อุทโท. (2558). การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนทางกายภาพของโรงเรียนอนุบาลวัดช่องลมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
นงนุช แย้มวงศ์ และคณะ. (2561). การประเมินประสิทธิภาพการดำเนินโครงการสามล้านสามปีเลิกบุหรี่ทั่วไทยเทิดไท้องค์ราชันของจังหวัดนครนายกและจังหวัดสระแก้ว. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
ปฏิคม พงษ์ประเสริฐ. (2550). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการในโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลนครนายก. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประวีณา โภควณิช. (2559). แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาเรียนรวมระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พิกุล อนันตนานนท์. (2556). การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียน วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช. การประเมินโครงการ สายงานการบริหารสถานศึกษา. วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช.
เลิศศักดิ์ คำปลิว. (2551). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศรีสุดา ไชยวิจารณ์. (2561). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. (10) 1, 59-72.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำเริง นิ่มปลื้ม. (2555). การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ. รายงานการประเมินโครงการ โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ.
อมรพงศ์ พันธ์โภชน์. (2555). การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของกลุ่มลำภู-บางนาคสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2 (1), 34-45.
อภิปราย โสภายิ่ง. (2563). การประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (7), 394-409.
อินทิรา บริบูรณ์. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเครือข่ายโรงเรียนนานาชาติเวลล์ส สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุดมวิทย์ ยะจร. (2562). การประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสิงห์คอมพิทยา. เอกสารเผยแพร่ โรงเรียนสิงห์คอมพิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2.
Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Blanford, Sonia. (2006). Middle leadership in schools. London: Pearson Longman.
Buffo. (2005). An investigation of the perceptions of student, Teachers, and Parent concerning school safety within the elementary schools of a large suburban school district. New York: Harperand Brotheres.
Falk, H. & John D. Balling. (1982). The field trip millicee: learning and behavior as a functionof contextual events. The journal of educational research. 76, 22-29.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size of research activities. Educational and Phycological Measurement, 30, 608-610.
Stufflebeam, D. L. (1971). The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational Accountability. Atlantic City, N.J.
Stufflebeam, D. L. (2002). CIPP evaluation model checklist: Atoll for applying the fifth installment of the CIPP model to assess long-tern enterprises. Online. Available: http://www.wmich.edu/evalctr/checklist/cippcheck.htm