อิทธิพลของปัจจัยระดับองค์การและทักษะที่เสริมสร้างพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมที่มีต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยระดับองค์การที่มีต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาทักษะที่เสริมสร้างพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมที่มีต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงาน และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของทักษะที่เสริมสร้างพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมในฐานะตัวแปรส่งผ่าน (Mediator Variable) ต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงาน จากการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 311 คนที่เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการขององค์การในอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ ประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .912 และนำมาวิเคราะห์โดยการสร้างโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model : SEM) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยระดับองค์การ และทักษะที่เสริมสร้างพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมที่มีต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงาน และอิทธิพลของทักษะที่เสริมสร้างพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมในฐานะตัวแปรส่งผ่าน (Mediator Variable) ต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงาน
ผลการการวิจัยพบว่า ปัจจัยระดับองค์การ และทักษะที่เสริมสร้างพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงาน และทักษะที่เสริมสร้างพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมมีอิทธิพลในฐานะตัวแปรส่งผ่าน (Mediator Variable) ต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงาน
Article Details
References
Anthony, S. D. (2017). The little black book of innovation, with a new preface: how it works, how to do it. Harvard Business Review Press.
Dyer, J., Gregersen, H., & Christensen, C. M. (2011). The Innovator’s DNA. Harvard Business School Publish Corporation.
Nijhof, A., Krabbendam, K., & Looise, J. K. (2002). Innovation through exemptions: Building upon the existing creativity of employees. Technovation. 22 (11), 675 -683.
OECD. (2015). OECD Innovation Strategy 2015 an Agenda for Policy Action. Retrieved from https://www.oecd.org/sti/OECD-Innovation-Strategy-2015-CMIN2015-7.pdf
Office of Industrial Economics. (2016). National Industrial Development Master Plan (2012-2036). Retrieved from http://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/Industrial%20Master %20Plan/National_Industrial_Development_Master_Plan.pdf. [in Thai]
Office of the National Economic and Social Development Council. (2016). The Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Retrieved from https://www.nesdc. go.th/nesdb_en/ewt_dl_link.php?nid=4345. [in Thai]
Ramamoorthy, N., Flood, P. C., Slattery, T., & Sardessai, R. (2005). Determinants of innovative work behaviour: Development and test of an integrated model. Creativity & Innovation Management, 14 (2), 142-150.
Veenendaal, A., & Bondarouk, T. (2015). Perceptions of HRM and their effect on dimensions of innovative work behaviour: Evidence from a manufacturing firm. Management Revue, 26 (2), 138-160.
Watcharasriroj, B. (2020). HR Practices and values for innovative culture development of SMEs in Thailand. National Institute of Development Administration. [in Thai]
West, M., & Farr, J. (1989). Innovation at work: Psychological perspectives. Social Behavior, 4, 15-30.
World Economic Forum. (2017). The Global Competitiveness Report 2017-2018. Retrieved from http://www3.weforum.org/docs/GCR20172018/05FullReport/TheGlobalCompetitiveness Report2017%E2%80%932018.pdf
Zhang, X., & Bartol, K. M. (2010). Linking empowering leadership and employee creativity: The influence of psychological empowerment, intrinsic motivation, and creative process engagement. The Academy of Management Journal. 53 (1), 107-128.