การส่งเสริมงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการส่งเสริมงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 และ 2. เปรียบเทียบการส่งเสริมงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 256 คน โดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกนและการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามพื้นที่จัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่ามี 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า
1. การส่งเสริมงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล รองลงมาคือ ด้านการคัดกรองนักเรียน และด้านการส่งต่อนักเรียน
2. การเปรียบเทียบการส่งเสริมงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวม และรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นั่นคือ ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 11-20 ปี และ 21 ปีขึ้นไปมีการปฏิบัติมากกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 1- 10 ปี
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมสุขภาพจิต. (2554). คู่มือที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป.
จรัญ จิตรตระกูลชัย. (2555). การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอหนองบัว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
พรศักดิ์ ผกากรอง. (2562). การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ศิวา ขุนชำนาญ. (2564). การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สุภัสสร สุริยะ. (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดกรุงเทพ มหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). มัธยมศึกษายุคใหม่สู่มาตรฐานสากล 2561 (Towards World-Class Standard Education 2018). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้วิกฤติสังคม. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 1. (2561). แผนงบประมาณประจำปี 2563. กาญจนบุรี: กลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี. (2562). ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ปีการศึกษา 2562. กาญจนบุรี: กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงาน.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2550). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์/ราชประชานุเคราะห์. กาญจนบุรี: โล้วเฮงหมงมีเดีย.
Best, J. W. (1981). Research in education. (4th ed.). Englewood cliff: Prentice Hall.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Likert, R. (1976). Management styles and the human component. New Yok: AMACOM.