การฟื้นฟูสภาพจิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ด้วยหลักพุทธธรรม

Main Article Content

พนิชย์ สิมลี
พระโสภณพัฒนบัณฑิต
พระครูสุธีคัมภีรญาณ
พระมหาสำรอง สญฺญโต

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยเรื่อง “การฟื้นฟูสภาพจิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ด้วยหลักพุทธธรรม” นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาสภาพจิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี 2) ศึกษาการฟื้นฟูสภาพจิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ 3) เสนอแนวทางการฟื้นฟูสภาพจิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ด้วยหลักพุทธธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ตามวิธีอุปนัย
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ปัญหาสภาพจิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี มีสาเหตุจาก 1) ความเครียด สาเหตุเกิดทั้งจากตนเองและลูกที่คลอดออกมา บุคคลรอบข้าง ภาวะทางเศรษฐกิจของครอบครัว 2) ความเศร้าของหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ รู้สึกสิ้นหวัง ดูถูกตนเอง 3) ความกลัว หญิงวัยรุ่นหลายคนรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าน้อย
          2. การฟื้นฟูสภาพจิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครอุดรธานีพบว่าหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ทุกคนมีระดับความเครียด ในระดับปกติรวมทั้งยังมีกลไกในการเผชิญกับความเครียดได้ดี บางคนสามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม โดยเป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุ สำหรับความเศร้าและความกลัว มีหลายคนที่รับรู้ว่าตนเองมีคุณค่าน้อย หลายคนมีความตั้งใจที่จะพัฒนาตนเองทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางสังคมที่เหมาะสมทำให้หญิงวัยรุ่นมีการฟื้นฟูสภาพจิตตนเองได้ดี เกิดความพึงพอใจในตนเอง
          3. แนวทางการฟื้นฟูสภาพจิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ด้วยหลักพุทธธรรม ได้ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตา การสมาทานศีล เจริญจิตภาวนาด้วยหลักสมถะและวิปัสสนา การสวดมนต์แผ่เมตตาและปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆ มาเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและฟื้นฟูสภาพจิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ให้ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันและเอื้อประโยชน์ต่อผู้อื่นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). แม่วัยใส ความท้าทายการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแอดวานส์ปริ้นติ้งจำกัด.

จารวี พิมพ์สมฤดี. (2553). การศึกษาความทุกข์ของสตรีที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปิยนุช ชมพูกาศ และ ศศิ กฤษณะพันธ. (2016). ความภาคภูมิใจในตนเองและสุขภาพจิตของวัยรุ่นตั้งครรภ. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุข. TUH Journal online. 1 (2), 35-44

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธพิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนชนก พัฒน์คล้าย. (2558). ประสบการณ์การตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรของวัยรุ่นในเขตพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

ศรีเพ็ญ ตันติเวสสและคณะ. (2556). สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย 2556. กรุงเทพมหานคร: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ.

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน). (2528). สังคหวัตถุ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สุนีรัตน์ จันทร์ศรี. วิมลพรรณ นิธิพงศ์ และบุษยนาฎ เรืองรอง. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด. รายงานวิจัย. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี: ราชบุรี.

อัญชลี เหมชะญาติ. (2558). การปรับตัวของแม่วัยรุ่น. การศึกษาและการพัฒนาสังคม; ปร.ต. การศึกษาและการพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.