รูปแบบการใช้หลักภาวนา 4 เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1

Main Article Content

จิตติมา สุนทรรส
พระโสภณพัฒนบัณฑิต
พระครูสุธีคัมภีรญาณ
พระมหาสำรอง สญฺญโต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาหลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนคุณธรรม และ 3) เสนอรูปแบบการใช้หลักภาวนา 4 เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนคุณธรรม ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนคุณธรรม ศึกษานิเทศก์ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอนและครูผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ปกครองนักเรียน พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ผู้นำหมู่บ้าน รวม 28 รูป/คน เลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แล้วนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบวิเคราะห์เชิงพรรณนา
          ผลการวิจัยพบว่า
          หลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า เป็นหลักปฏิบัติ 4 ด้านที่พระพุทธเจ้าตรัสในคำสอนของพระพุทธองค์เองเพื่อใช้เป็นคุณสมบัติของบุคคลท่านใช้ว่า 1. กายภาวนา คนเป็นภาวิตกาโย ตัวการกระทำเป็นกายภาวนา 2. ศีลภาวนา คนเป็นภาวิตสีโล ตัวกระทำเป็นจิตภาวนา 3. จิตภาวนา คนเป็นภาวิตจิตโต ตัวกระทำเป็นจิตภาวนา 4. ปัญญาภาวนา คนเป็นภาวิตปัญโญ ตัวกระทำเป็นปัญญาภาวนา เป็นคุณสมบัติของบุคคลผู้ได้เจริญกาย ศีล จิต และปัญญามีความสำคัญทั้งในด้านการพัฒนาตน การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม และในการรักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงของชีวิต
          สภาพการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนคุณธรรม มีหาเหตุจาก 1) ด้านกายภาพบางโรงเรียนยังไม่มีห้องพระพุทธศาสนาสำหรับศึกษาพุทธธรรม ไม่สามารถจัดสถานที่ให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมวิถีพุทธทุกอย่างได้ 2) ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต ผู้ปกครองและนักเรียนส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตแบบสังคมเมือง และมีความเป็นวัตถุนิยม ไม่สามารถนำเอาหลักธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ 3) ด้านการเรียนการสอน โรงเรียนยังขาดบุคลากรที่มีความรู้อย่างแท้จริงเกี่ยวกับคำสอน ขาดความเชี่ยวชาญที่จะนำคำสอนมาประยุกต์ใช้และเป็นแบบอย่างที่ชัดเจนได้ 4) ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ครูและนักเรียนยังไม่สามารถสร้างบรรยากาศวิถีพุทธได้อย่างเต็มที่ 5) ด้านการบริหารจัดการ การจัดประชุมเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจกับบุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์และแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานของโรงเรียนวิถีพุทธ
          รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนคุณธรรม ทั้ง 3 ขนาด มีรูปแบบบูรณาการกับโรงเรียนวิถีพุทธ 5 ด้าน คือ ด้านกายภาพ ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต ด้านการเรียนการสอน ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ ด้านการบริหารจัดการ ครูผู้สอนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้บูรณาการกับโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพัฒนาการทาง กายภาวนา มีการฝึกปฏิบัตินักเรียนการเดิน ยืน นั่ง การสวดมนต์ไหว้พระประจำวัน 2) ศีลภาวนา ฝึกปฏิบัติการทำสมาธิก่อนเรียนทุกวิชา การใช้คำว่า ดี ดี ดี คือ คิดดี พูดดี ทำดี 3) จิตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจด้วยค่ายคุณธรรม 4) ปัญญาภาวนา มีการจัดกิจกรรมแข่งขันความรู้ด้านคุณธรรม ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์โรงเรียนและในชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). สู่การศึกษาแนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. กรุงเทพมหานคร: อุษาการพิมพ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร.

จเด็จ ทัศวงษา. (2562). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

เจริญ ภักดีวานิช. (2546). การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้วิกฤตสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). สอนเด็กให้มีจิตสารธาณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: วี.พริ้นท์ (1991).

ดวงใจ ช่วยตระกูล. (2551). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระกองสี ญาณธโร (พรมโพธิ์). (2560). ศึกษาวิเคราะห์การดาเนินชีวิตตามหลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดประดิสิษฐ์ ตาโภ (ประคองสาย). (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). (พิมพ์ครั้ง 10). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส. อาร์ พริ้นเตอร์ แมส โปรดักส์ จำกัด.

พิชญรัชต์ บุญช่วย. 22549). การศึกษากระบวนการสร้างภาวนา 4 โดยใช้หลักไตรสิกขา. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2551). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2544- 2549. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พัฒนาหลักสูตร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตของประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

เสรี เจริญราช. (2557). การศึกษากระบวนการเจริญปัญญาของโรงเรียนบ้านนาคาย อาเภอตาลสุมจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อรุณวรรณ บุญเทียบทิฆัมพร. (2549). การพัฒนาทักษะชีวิตของเยาวชนด้วยพุทธภาวนา: กรณีศึกษาค่ายคุณธรรมวัดอุโมงค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.