การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

พรชัย ขันทะวงค์
ชัชชติภัช เดชจิรมณี
ทศพล อัครพงษ์ไพบูลย์
จุฑามาส เอี่ยมจินดา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกช่องทางการชำระเงินในการสั่งอาหารออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ โดยมีกรอบแนวคิดของงานวิจัยประยุกต์จากแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี และแนวคิดผลกระทบเครือข่ายภายนอก การวิจัยเชิงปริมาณนี้ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูล โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 830 คน จากผู้ใช้แอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ โดยแบ่งองค์ประกอบของกลุ่มตัวอย่างระหว่างอายุและประสบการณ์การใช้งาน เพื่อตอบแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างและการวิเคราะห์แบบจำลองสมการถดถอยโลจิท ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย การรับรู้จำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่าย การรับรู้การเติมเต็ม การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ที่ได้รับ  การรับรู้ความปลอดภัย ทัศนคติ บรรทัดฐานของคนใกล้ชิด บรรทัดฐานของคนที่ติดต่อด้วย บรรทัดฐานส่วนบุคคล ความตั้งใจใช้งาน และพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกช่องทางการชำระเงินในการสั่งอาหารออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ ผู้ใช้บริการเลือกช่องทางการชำระเงินผ่านโมบายแบงค์กิ้งมากที่สุด รองลงมาคือ เงินสด บัตรเครดิต และระบบผูกกับบัญชีธนาคาร ตามลำดับ ผลดังกล่าวสามารถตีความได้ว่า การยอมรับเทคโนโลยีในการใช้แอปพลิเคชันขึ้นอยู่กับการรับรู้จำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายและการรับรู้การเติมเต็ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

นุชนาฏ สุทธิวงษ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจเลือกใช้บริการการชำระเงินผ่านแอพพลิเคชั่นเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ในกรุงเทพมหานคร. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

ณัธภัชร เฉลิมแดน. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคในการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชันช่วงเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม. 2 (1), 92-106.

บุษรา ประกอบธรรม. (2556). การศึกษาการยอมรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา:กรณีศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สุทธิปริทัศน์. 27 (81), 93-108.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). ธุรกิจ Food Delivery ปี 64 มูลค่ารวมทะลัก5.58 หมื่นล้านบาทโต 24.4%. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://kasikornresearch.com/th/ analysis/k-econ/business/Pages/Covid-Travel-z3255.aspx.

Ajzen, I. & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Berry, L.L., Kathleen S., and Dhruv G.., (2002). Understanding Service Convenience. Journal of Marketing, 66 (July), 1–17.

Bajaj, K. & Mehendale, S. (2016). Food - Delivery Start-Ups: In Search of the Core. Praband han: Indian Journal of Management, 9 (10). 42-53.

Chen, N.-H.; Hung, Y.-W. (2015). Online shopping orientation and purchase behavior for high-touch products. Int. J. Electron. Commer. Stud., 6, 187–202.

Chai, L.T., Yat, D.N.C. (2019). Online Food Delivery Services: Making Food Delivery the New Normal. J. Mark. Adv. Pract. 1, 62–77

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rded.). New York: John Wiley & Sons, Inc.

Davis, F.D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of In formation Technology, MIS Quarterly. 13 (3), 319-339.

Farquhar, J. D., & Rowley, J. (2009). Convenience A Services Perspective. Marketing Theory, 9, 425-438.

Fishbein and Ajzen. 1975. Belief Attitude Intention and Behavior: An Introduction to theory and Research. Mass: Addison-Wesley.

Farrel and Klemperer (2007). Coordination and Lock-In: Competition with Switching Costs and Network Effects. Handbook of Industrial Organization, 3, 1967-2072.

Green and Kreuter. 1991. Health Promotion Planning : An Education and Environment Approach. 2 nd ed. Toronto: May Field Publishing Company.

Jiang, L. (Alice), Yang, Z. & Jun, M. (2013). Measuring consumer perceptions of online shopping convenience. J. Serv. Manag. Emerald 24 (2), 191–214.

Jahangir, N., & Begum, N. (2008). The role of perceived usefulness, perceived ease of use, security and privacy, and customer attitude to engender customer adaptation in the context of electronic banking, African Journal of Business Management, 2 (1), 32-40.

Kapoor, A.P.; Vij, M. (2018). Technology at the dinner table: Ordering food online through mobile apps. J. Retail. Consum. Serv. 43, 342–351.

Katawetawaraks, C., & Wang, C. L. (2011). Online shopper behavior: influences of online shopping decision, Asian Journal of Business Research, 1 (2), 66-74.

Ngai, E.W.(2007). Gunasekaran, A. A review for mobile commerce research and applications. Decis. Support Syst, 43, 3–15.

Park, E., Baek, S., Ohm, J., & Chang, H. J. (2014). Determinants of player acceptance of mobile social

network games: An application of extended technology acceptance model. Telematics and Informatics, 31 (1), 3–15.

Phoranee L., Veera B., (2018). Elucidating the Behavior of Consumers toward Online Grocery Shopping: The Role of Shopping Orientation. Journal of Internet Commerce, 17(4), 418-445.

Prabowo, G.T. and Nugroho, A. (2019). Factors that influence the attitude and behavioral intention of Indonesian users toward online food delivery service by the Go-Food application, Proceedings of the 12th International Conference on Business and Management Research (ICBMR 2018). 204-210.

Roca, J.C., Garci, J.J., & Vega, J.J. (2009). The importance of perceived trust, security and privacy in online trading system. Journal of Information Management & Computer Security, 17 (2), 96–113.

Rogers, E.M. (1983). Diffusion of Innovations; Free Press: New York, NY, USA.

Thi Thu H.N., Ninh N., Thi Bich L.N., Thi Thu H.P., Lan P. B., Hee C.M., (2019). Investigating Consumer Attitude and Intention towards Online Food Purchasing in an Emerging Economy: An Extended TAM Approach, MDPI Journal, 8(11), 576.

Yu, E., Hong, A., & Hwang, J. (2016). A socio-technical analysis of factors affecting the adoption of smart TV in Korea. Computers in Human Behavior, 61, 89–102.