การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2

Main Article Content

ธัญลักษณ์ ลือยศ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 105 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 83 โรงเรียน โดยทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะแบบประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scale) เกี่ยวกับสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ทั้งหมด 6ด้าน คือ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน 4) ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา 5) ด้านการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และ 6) ด้านการวิจัยในชั้นเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
          ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.28) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.18) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน ด้านการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวิจัยในชั้นเรียน และด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. (2562). สารสนเทศและข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษา. กำแพงเพชร : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

สุรนาท มีศิลป์. (2559). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สมิตานัน ทิพย์ศรีหา. (2560). สภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัญฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

มณีวรรณ แหวนหล่อ. (2561). สภาพการบริหารงานวิชาการของครูในระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยรังสิต.

กรรณิกา โกสันเทียะ. (2562). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต.

ชลนที กาศมณี. (2563). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ชุลีภรณ์ นวลนุช. (2558). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กในอำเภอเทิง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ปิยะพร เขียวอินทร์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหาร

การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.