การศึกษามโนมติทางการเรียน เรื่อง การไทเทรต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยโปรแกรมการทดลองเสมือนจริง

Main Article Content

ฉัตรวิมล ทาระเนตร์
อัมพร วัจนะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการทดลองเสมือนจริง วิชาปฏิบัติการเคมี 3 เรื่อง การไทเทรต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบมโนมติของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยโปรแกรมการทดลองเสมือนจริง เรื่อง การไทเทรต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้โปรแกรมการทดลองเสมือนจริง เรื่อง การไทเทรต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียนที่เรียนโดยใช้การทดลองเสมือนจริง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)บทเรียนโปรแกรมการทดลองเสมือนจริง เรื่อง การไทเทรต 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การไทเทรต 3) แบบวัดมโนมติทางการเรียน เรื่อง การไทเทรต ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 โดยใช้รูปแบบแผนการทดลองรูปแบบ Randomized Group, Pretest-Posttest Design 3) แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียนซึ่งมีการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า มโนมติทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมการทดลองเสมือนจริงก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.55 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.49 โดยมโนมติทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมการทดลองเสมือนจริง เรื่องการไทเทรต อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

พรนภา อาจสว่าง. (2558). การพัฒนาห้องปฏิบัติการเคมีเสมือน เรื่องสมบัติของธาตุและสารประกอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร

เยาวพา นันต๊ะภูมิ, ยุทธนา ชัยเจริญ และอโนดาษ์ รัชเวทย์. (2563). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นตามกรอบแนวคิด วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 4 (3), 15–28.

วรนุช แหยมแสง. (2549). มโนมติและการพัฒนามโนมติ. วารสารรามคำแหง. 23 (3), 120-136.

ศิรินันท์ ศิริโธ. (2561). การพัฒนามโนมติและทักษะการจำแนกทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนคลองลำเจียก โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). เคมี เล่ม 4. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สนทยา บังพรม. (2558). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าเคมี ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับเทคนิคทำนาย-สังเกต-อธิบาย ในขั้นขยายความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สุนิสา กะการดี. (2559). การพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับโปรแกรม Yenka Science ในการส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

สุรจิรา บุญเลิศ. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทปฏิบัติการทดลองเสมือนจริง เรื่องสารละลายกรดและเบส. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สุวรรณ โชติการ และนิพัทธุ์ อินทอง. (2556). การศึกษาการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและชุดปฏิบัติการทดลองเสมือนจริง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : กรณีศึกษาโรงเรียนวิเชียรชม จังหวัดสงขลา. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ:มหาวิทยาลัยทักษิณ