ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3

Main Article Content

จิราภรณ์ ประชุมแดง
พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์
มิตภาณี พุ่มกล่อม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการ การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา จำนวน 289 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามพื้นที่การจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. การบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้และด้านการคัดเลือกหนังสือแบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา
          2. การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน รองลงมาคือ ด้านส่งเสริมยกย่องเชิดชูเกียรตินักเรียน ด้านปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืน ด้านเสริมสร้างภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และด้านสร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมและให้มีการบูรณาการอ่านกับการเรียนการสอนตามหลักสูตร
          3. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับการสร้างนิสัยรักการอ่านในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550ก). กฎกระทรวงศึกษาธิการเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษา พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561ก). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

แก่นนคร พูนกลาง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

จันจิรา คุณฑี. (2555). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียนต้นแบบส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.

จุฑาณัฐ สุภาพ. (2555). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในเขตอำเภอเขาฉกรรจ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

จุฑามาส เทวา. (2558). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมสร้างนิสัยรักการอ่านของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิตการพิมพ์.

ธิษตยา ภิระบัน. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

บุศรินทร์ สุขพัฒน์. (2558). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประยูร คุณนาม. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาในอำเภอบ่อทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปัญญา แจ่มกังวาล. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ปริญญา คงด้วง. (2556). แนวทางส่งเสริมการอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนอัสสัมชัญศรีชราชา. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พนัส ด้วงเอก และคณะ. (2555). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วารสารการบริหารบริหารและพัฒนา. 4 (1), 68-84.

พิทยาภรณ์ อรชัย. (2559). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ภาณุวัฒน์ กมล. (2554). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรีจังหวัดชลบุรี. นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัตนกร พรมวังขวา. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

สายทอง ประยูรคํา. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลําภู เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สังวาลย์ เยียว. (2554). แนวทางการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก ในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนในเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมคิด มานะคิด. (2554). การบริหารด้านวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). กิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการพัฒนาห้องสมุด. กรุงเทพหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปี 2563. กาญจนบุรี: ผู้แต่ง.

สุธินี แซ่ซิน. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพของ ผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

อัญชลี แฟ้นประโคน. (2556). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Best, J. W. (1981). Research in education. London: Prentice-Hall International.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.