การออกแบบการส่งเสริมสุขภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุยุคความปกติใหม่ : กรณีศึกษาจากกิจกรรมตรวจสุขภาพทางกายภายใต้งานบริการวิชาการ แก่ชุมชนปิ่นเจริญ 1-2 และชุมชนสินวงษ์

Main Article Content

วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์
กฤชญา พุ่มพิน
วิมลมาลย์ สมคะเน

บทคัดย่อ

          การส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุการโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลางการบริการ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างความยั่งยืนรูปแบบหนึ่ง แต่การแพร่ระบาดโควิด-19 และปัจจัยอื่นๆภายในชุมชนทำให้ขาดความต่อเนื่องการให้บริการ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการส่งเสริมสุขภาพทางกายของผู้สูงอายุชุมชนปิ่นเจริญและสินวงษ์ และ 2) ออกแบบแนวทางการส่งเสริมสุขภาพกายของผู้สูงอายุในชุมชนด้วยการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ โดยประชากรเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 62 คน เพื่อศึกษาบริบทการส่งเสริมสุขภาพทางกายของผู้สูงอายุในชุม ด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพทางกายของผู้สูงอายุ และกลุ่มตัวอย่างที่ถูกเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 18 คน เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกจากคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและออกแบบเชิงกลยุทธการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ในรูปแบบ SWOT และ TOWS Matrix
          ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์เชิงรุก 1) ขยายเครือข่ายหน่วยงานภายนอกให้มีร่วมจัดกิจกรรมมากขึ้น 2) จัดกิจกรรมให้การปรึกษาการออกกำลังกายและการใช้เวลาว่างสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนแบบรายบุคคลและกลุ่ม กลยุทธ์เชิงแก้ไข 1) สร้างแกนชุมชนด้านการออกลังกายสำหรับผู้สูงอายุ 2) สร้างความร่วมมือการดำเนินกิจกรรมระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกชุมชนตลอดปี กลยุทธ์เชิงป้องกัน 1) ให้ความรู้การดูแลสุขภาพที่ทันสมัยให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชนผ่านการลงพื้นที่ เสียงตามสายชุมชน และช่องทางออนไลน์ และกลยุทธ์เชิงรับ 1) ส่งเสริมการปฏิบัติกิจกรรมกายทั้งในที่พักอาศัยและชุมชนให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน 2) ส่งเสริมการให้ความรู้การออกกำลังกายที่ถูกต้องผ่านรูปแบบออนไลน์โดยเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัวช่วยเหลือการเข้าถึงสื่อของผู้สูงอายุ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมพลศึกษา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชน อายุ 60 – 69 ปี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.dpe.go.th/manual-preview-411291791797

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมพลศึกษา. (2563). แผนปฏิบัติการด้านนันทนาการ ระยะที่ 3 พ.ศ. 2563 – 2565. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ฟูลฟิลแมนเนจเม้นท์ จำกัด

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่2 (พ.ศ. 2554 - 2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

กุลทัต หงส์ชยางกูร, พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ และ ญัตติพงศ์ แก้วทอง. (2561). คู่มือการเพิ่มกิจกรรมทางกายในคนไทย. สงขลา: สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2564). ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2564. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.edu.ru.ac.th/index.php/2014-04-17-03-56-47

วีณา เที่ยงธรรม, สุนีย์ ละกำปั่น และ อาภาพร เผ่าวัฒนา. (2555). การพัฒนาศักยภาพชุมชน : แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.

สมใจ วินิจกุล. (2552). อนามัยชุมชนกระบวนการวินิจฉัยและการแก้ปัญหา. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์ จำกัด

สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป). คู่มือชมรมผู้สูงอายุของสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2564 แหล่งที่มา: http://www.dop.go.th/download/ knowledge/knowledge_th_20161706104732_1.pdf

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. (2561). แผนหลัก สสส. 2561 – 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.thaihealth.or.th/Books/509/%E0% B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81+%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%AA.+2561-2563.html

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2564 แหล่งที่มา: http://plan.uru.ac.th/yuttasat/plan_no.12.pdf

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2560 -2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). Thailand 4.0 ขับเคลื่อนอนาคตสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://spm.thaigov.go.th/FILEROOM/spm-thaigov/DRAWER004/GENERAL/DATA0000/00000368.PDF

World Health Organization WHO. (2011). Global Recommendations on Physical Activity for Health 18-64 years old. Online. Retrieved 23 May, 2020 from: https://www.who.int/ dietphysicalactivity/physical-activity-recommendations-18-64years.pdf?ua=1