การขัดเกลาทางสังคมต่อการไม่ยอมทำแท้งของผู้หญิง ที่มีประสบการณ์ตั้งครรภ์เมื่ออายุยังไม่บรรลุนิติภาวะ

Main Article Content

พีรเดช ประคองพันธ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงคุณภาพฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจว่าการขัดเกลาทางสังคมอะไรทำให้ผู้หญิงที่มีประสบการณ์ตั้งครรภ์เมื่ออายุยังไม่บรรลุนิติภาวะกลุ่มนี้เลือกที่จะดำรงครรภ์ไว้ ผู้วิจัยใช้การศึกษาจากการเล่าเรื่องของผู้หญิงที่เคยมีประสบการณ์ตั้งครรภ์ก่อนการบรรลุนิติภาวะหรือก่อนอายุ 20 ปีบริบูรณ์จำนวน 12 คน และตัดสินใจไม่ยุติการตั้งครรภ์ เนื่องจากประเด็นการเป็นแม่วัยรุ่นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ผู้วิจัยจึงเลือกใช้วิธีการเข้าถึงกลุ่มผู้ให้ข้อมูลผ่านวิธีผู้ช่วยแนะนำ (gatekeeper) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผู้ให้ข้อมูลไว้วางใจ เช่น ผู้ปกครอง เพื่อน หรือครูอาจารย์ เป็นต้น ผลการศึกษาพบว่า การขัดเกลาทางสังคมของแม่วัยรุ่นลุ่มนี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การขัดเกลาผ่านคนในครอบครัว จากการปลูกฝังของคนในครอบครัวและการแสดงความรับผิดชอบต่อลูกในครรภ์ การขัดเกลาทางสังคมผ่านวัฒนธรรมความเชื่อทางศาสนา เนื่องจากความเชื่อทางศาสนาจะไม่สนับสนุนให้ผู้หญิงยุติการตั้งครรภ์โดยเฉพาะในกรณีที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ การขัดเกลาผ่านบริบทในสถานศึกษา ผ่านการสนับสนุนและช่วยเหลือของเพื่อน ๆ และครูอาจารย์ ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบมีทั้งกระบวนการขัดเกลาทางสังคม 2 ลักษณะด้วยกันคือ การขัดเกลาทางตรงผ่านการสั่งสอน พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการขัดเกลาทางอ้อม คือ การซึมซับจากการเข้ารวมกลุ่ม การอ่านหนังสือ การรับรู้จากสื่อต่าง ๆ และการรับรู้จากตัวอย่างที่ปรากฏในสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ธราวรรณ. (2548). บันทึกประสบการณ์ของผู้หญิงที่ตั้งท้องเมื่อไม่พร้อม : รายงานผลการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสร้างความเข้าใจเพื่อสุขภาพผู้หญิง.

นภาภรณ์ หะวานนท์. (2550). การสร้างความรู้ภายใต้กระบวนทัศน์สร้างสรรค์สังคม. วารสารสังคมลุมแม่น้ำโขง. 3 (3), 1-24.

เนตรชนก แก้วจันทา. (2555). ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตั้งครรภ์: ปัจจัย ผล กระทบ และการป้องกัน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 35 (1), 83-90.

วาทินีย์ วิชัยยา. (2556). "ทำไมจึงท้อง" คำถามที่หนู..ไม่อยากตอบ: ว่าด้วยประสบการณ์การคุมกำเนิดจาก มุมมองของวัยรุ่นหญิงที่ตั้งครรห์ในวัยเรียน. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา. 32 (2), 10-38.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล และคณะ. (2558). กระบวนทัศน์เรืองเพศกับการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในสังคมไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 24 (2), 378-388.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2562). สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: http://rh.anamai.moph.go.th/ewtdl_ link.php?nid=86

องค์การยูนิเซฟประเทศไทย. (2558). การวิเคราะห์สถานการณ์การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในประเทศไทย. รายงานสังเคราะห์ 2558 : องค์การยูนิเซฟประเทศไทย.

Antonacopoulou Elena, P., & Pesqueux, Y. (2010). The practice of socialization and the socialization of practice. Society and Business Review, 5(1), 10-21.

Arai, L. (2009). What a difference a decade makes: Rethinking teenage pregnancy as a problem. Social policy and society, 8 (2), 171-183.

Bold, C. (2012). Using Narrative in Research. London: SAGE Publications.

Connelly, M. J. (2008). Fatal misconception : the struggle to control world population. Cambridge, Mass.: Belknap Press of Harvard University Press.

De Freitas, J., Cikara, M., Grossmann, I., & Schlegel, R. (2017). Origins of the belief in good true selves. Trends in Cognitive Sciences, 21 (9), 634-636.

Fonda, M., Eni, R., & Guimond, E. (2013). Socially constructed teen motherhood: A review. International Indigenous Policy Journal, 4 (1). doi:10.18584/iipj.2013.4.1.8

Hall, S. (1997). Representation : cultural representations and signifying practices Culture, media, and identities. Thousand Oaks, CA.: Sage.

Mandal, P. C. (2018). Trustworthiness in Qualitative Content Analysis. International Journal of Advanced Research and Development, 3 (2), 479-485.

Reader, S. (2008). Abortion, killing, and maternal moral authority. Hypatia, 23 (1), 132-149.

Shankar, A., Elliott, R., & Fitchett, J. A. (2009). Identity, consumption and narratives of socialization. Marketing Theory, 9(1), 75-94.

Sriyasak, A., Almqvist, A. L., Sridawruang, C., Neamsakul, W., & Häggström-Nordin, E. (2016). Struggling with motherhood and coping with fatherhood - A grounded theory study among Thai teenagers. Midwifery, 42, 1-9.