อิทธิพลของปัจจัยคุณภาพการบริการต่อความภักดีของลูกค้าในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์ระดับคุณภาพการบริการที่รับรู้จริงคุณภาพการบริการที่คาดหวังและความภักดีของลูกค้าในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 2) เปรียบเทียบคุณภาพการบริการที่รับรู้จริงและคุณภาพการบริการที่คาดหวังของลูกค้าในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และ 3) อิทธิผลของปัจจัยคุณภาพการให้บริการต่อความภักดีของลูกค้าในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างได้แก่พนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกับผู้จัดจําหน่ายหรือซัพพลายเออร์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามมีลักษณะเป็นคำถามแบบปลายปิดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากร Paired – sample t-test เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการบริการที่รับรู้จริงและคุณภาพการบริการที่คาดหวังของลูกค้าในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณในการทดสอบผลกระทบของคุณภาพการบริการที่รับรู้จริงต่อความภักดีด้านพฤติกรรมของลูกค้าในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพการบริการที่รับรู้จริงระดับคุณภาพการบริการที่คาดหวังและระดับความภักดีอยู่ในระดับมากในทุกด้าน 2) ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบคุณภาพการบริการที่รับรู้จริงและคุณภาพการบริการที่คาดหวังทำให้ทราบถึงคุณภาพการบริการที่รับรู้จริงมีค่าเฉลี่ยที่น้อยกว่าคุณภาพการบริการที่คาดหวังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) คุณภาพการบริการที่รับรู้จริงด้านความเป็นรูปธรรมของบริการด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ด้านการรู้จักและเข้าใจลูกค้าการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้าและการตอบสนองต่อลูกค้าส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2562). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.ieat.go.th/ieat-industry-port-factory/ieat-factory-list
นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด. (2563). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.wha-industrialestate.com/th/about-us/why-wha
วิจัยกรุงศรี. (2563). อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Hi-techIndustries/ Auto-Parts/IO/Industry-Outlook-Auto-Parts
เด่นนภา มุ่งสูงเนิน และชนะเกียรติ สมานบุตร. (2557). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการ : กรณีบริษัทไดนามิค อินเตอร์ทรานสปอร์ต จำกัด. วารสารการเงิน การลงทุนการตลาด และการบริหารธุรกิจ. 4 (2), 83-104.
ชลดา มงคลวานิช และรัตนาภรณ์ ชาติวงศ์. (2561). ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการของฝ่ายต้อนรับส่วนหน้าในโรงแรม 5 ดาว. วิทยานิพนธ์คณะศิลปะศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.
พิสณุ ฟองศรี. (2558). วิจัยในชั้นเรียน : หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์, 25.
Cochran, W. G. and S. P. Carroll. (1953), “A Sampling Investigation of the Efficiency of Weighing Inversely as the Estimated Variance” Biometrics. 9, 447-459.
Gerpott, Rams & Schindler. (2011). Customer retention, loyalty and satisfaction in The German mobile cellular telecommunications market. Telecommunication Policy. 25(4), 249-269.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. and Berry, L.L. (1994), “Reassessment of expectationsas a comparison standard on measuring service quality: implications for furtherresearch”, Journal of Marketing, 58 (1), 111-124.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. and Berry, L.L. (1985). A Conceptual Model of Service Quality and its Implications for Future Research.Journal of Marketing, 41-51.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. and Berry, L.L. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and expectations. New York: The free press.