บทบาทหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา

Main Article Content

ปิยะวัจนา โชคสถาพร

บทคัดย่อ

          การจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 เป็นการปฏิบัติที่มีความท้าทาย ระบบการบริหารการศึกษา การจัดการสถานศึกษา การสรรหาวิธีการ รวมไปถึงบทบาทหน้าที่ของผู้นำที่จะขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอการเปลี่ยนแปลงของการบริหารงานและหลักสูตรสถานศึกษาโดยมีการรวมกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยนำสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาอยู่ด้วยกันจึงเป็นความท้าทายการบริหารงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลซึ่งวิธีการดำเนินงานต่างๆต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพการณ์ปัจจุบันจึงกล่าวได้กล่าวได้ว่าบทบาทภาวะผู้นำของหัวหน้ากลุ่มสาระจึงมีความสำคัญในการบริหารจัดการกลุ่มสาระและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาด้วยการบูรณาการใน4วิชาหลักได้แก่ วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยนำองค์ความรู้มาเชื่อมโยงโดยสร้างความท้าทายกระบวนการคิดของผู้เรียนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดขึ้นในห้องเรียนเพื่อสร้างคุณภาพให้กับผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กชกร รุ่งหัวไผ่. (2559). การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์เพื่อการพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ชวนิดา สุวานิช. (2560). STEM Education กับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักศึกษา วิชาชีพครูให้มีคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ภายใต้ประเทศไทย 4.0. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 15 (1), 18 - 27.

ทวีศักดิ์ ยศถา. (2558). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำการเรียนการสอนของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. หลักสูตรครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำการจัดการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

วราภรณ์ สิงห์กวาง. (2561). รูปแบบการบริหารทีมงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ความรู้เบื้องต้นสะเต็ม (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). STEM Education Thailand. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2559. แหล่งที่มา: http://www.stemdthailand.org/?page_id=23

สวัสดิ์ แก้วชนะ. (2557). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนมาตรฐานสากล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สังเวียน อ่อนแก้ว. (2557). อิทธิพลของบทบาทและคุณลักษณะงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้บรรยากาศโรงเรียนที่มีต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Bybee, R. (2010). Advancing STEM Education: A 2020 Vision. Technology and Engineering Teacher. 70 (1), 30-35

Hopkins Public School. (2016a). STEM Curriclum. Online. Retrieved 2016, July 31. From: http://www.hopkinsschools.org/servicesdepartments/teaching-learning-assessment/ curriculum-areas/stem-curriculum.

Koehler, C., Faraclas, E., Giblin, D., Moss, D. and Kazerounian, K. (2013). The Nexus between science literacy and technical literacy: a state by state analysis of engineering content in state science standards. Journal of STEM Education. 14 (3), 5-12

National Research Council. (2012). A Framework for K-12 Science Education: Practices, Crosscutting Concept, and Core Ideas. Committee on New Science Education Standards, Board on Science Education, Division of Behavioral and Social Science and Education. Washington, DC: National Academy Press.

Robert M. Capraro & Sunyoung Han.(2013). STEM The Education Frontier to Meet 21st Century Challenges. Middle Grades Research Journal..

Stohlmann, M., Moore, T. J., & Roehrig, G. H. (2012). Considerations for Teaching Integrated STEM Education. Journal of Pre-College Engineering Education Research (J-PEER), 2 (1), Article 4. https://doi.org/10.5703/1288284314653.

Vasquez, J. A., Snelder, C. and Comer, M. (2013). STEM Lesson Essentials: Integrating Science, Technology, Engineering, and Mathematics. Portsmouth, NH: Heinemann.