Work from Home (WFH) : “ทำงานที่บ้าน” อย่างไรให้เวิร์คและมีความสุข

Main Article Content

ปิยพร ประสมทรัพย์
พิเชษฐ์ เชื้อมั่น
โชติ บดีรัฐ

บทคัดย่อ

          การศึกษาเรื่อง Work From Home (WFH) : ทำงานที่บ้านอย่างไรให้เวิร์คและมีความสุข นี้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อลดการปฏิสัมพันธ์ของคนซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด – 19 ผลการศึกษาพบว่า การทำงานที่บ้านมีผลดีทั้งต่อองค์กรและพนักงาน ทั้งด้านค่าใช้จ่ายที่ลดลง เวลาที่ประหยัดได้จากการเดินทางที่ลดลง และประสิทธิภาพในการทำงานที่เพิ่มขึ้น โดยประโยชน์ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดตกอยู่กับพนักงานในรูปของเวลาในการเดินทางที่ประหยัดได้ ซึ่งทำให้พนักงานมีเวลาในการทำกิจกรรมตามที่ต้องการเพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับพนักงานจากการทำงานที่บ้าน คือ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในรูปตัวเองถึงร้อยละ 88 และทำให้องค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากถึงร้อยละ 12 อีกด้วย รวมทั้งช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปกลับระหว่างที่พักและที่ทำงาน ตลอดจนเวลาที่ต้องเดินทางไปประชุมหรือติดต่องานภายนอก การศึกษายังพบอีกว่า ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานที่ทำงานที่บ้านส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น ถึงร้อยละ 40 เหตุผลสำคัญที่การทำงานที่บ้านช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ คือ พนักงานร้อยละ 29 รู้สึกในทางบวกจากการได้รับอนุญาตให้ทำงานที่บ้านได้ ส่วนการทำงานที่บ้านอย่างมีความสุข พบว่า พนักงานมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในด้านความห่วงใยในสุขภาพและสวัสดิภาพของพนักงานในช่วงโควิด-19 ระบาด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานสถานการณ์รายวัน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา:: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php.

ชนกนันท์ โตชูวงศ์. (2562). การศึกษาการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อประสิทธิภาพ การทำงานที่บ้านของพนักงานบริษัทเอกชน ในสภาวะวิกฤติการเกิดโรคระบาดไวรัสโควิด – 19 ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหาธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทีมข่าวคุณภาพชีวิต. (2564). ส่องสถานการณ์ฉีดวัคซีนโควิด – 19 ทั่วโลก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/943657.

นาตภา ไทยธวัช. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษาบริษัท กระจกพีเอ็มเค – เซ็นทรัล จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธนบุรี.

มนัสนันท์ ศรีนาคาร และพิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ. (2553). การทำงานทางไกลและที่บ้าน. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 6 (1), 109-118.

ปุริศ ขันธเสมา. (2563). ความพึงพอใจในการทำงานที่บ้านในช่วงโควิดระบาดโควิด-19 ของกลุ่มงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

วที. (2564). ถอดกรณีศึกษา LINE “Work From Home” อย่างไร ไม่ให้กลายเป็น “Work From Hell”. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.marketingoops.com/ news/biz-news/case-study-line-work-from-home.

เวิร์คพอยต์ทูเดย์. (2564). ความท้าทายที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญ ในโลกเศรษฐกิจหลัง โควิด-19. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://workpointtoday.com/dtac-says-business-resilience-in-post-pandemic/.

ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (2564). วัคซีนป้องกันโควิด-19. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/february-2021/covid-19-vaccinations.

เสาวรัจ รัตนคำฟู และ เมธาวี รัชตวิจิน. (2563). ผลกระทบของการทำงานที่บ้านในช่วงโควิด-19 โดยใช้กรณีศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒานาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: http://www.thaitribune.org/contents/detail/303?content_id =37406&rand=1590385449.

เสนาะ ติเยาว์. (2543). หลักการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โสภิต บวรไชยชาญ. (2555). ปัจจัยและทัศนคติของพนักงานบริษัทต่อพฤติกรรมการทำงานที่บ้าน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.car.chula.ac.th/display7.php? bib=b2124747.

อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล. (2558). การบริหารงานคุณภาพในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.