การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อรับมือและแก้ไขปัญหาอุทกภัย

Main Article Content

ศุภวิชญ์ มีศิริพันธุ์
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่แบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นการรับมือและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ผลการวิเคราะห์พบว่า การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ให้ความสำคัญถึงกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่แบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นการรับมือและแก้ไขปัญหาอุทกภัย คือ การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพื่อรับมือและแก้ไขปัญหาอุทกภัยของชุมชนและระหว่างชุมชน และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพื่อรับมือและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระหว่างองค์กรชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน รวมกันกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง และการจัดทำแผนบูรณาการการทำงานร่วมกันด้วยการจัดทำแผนบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อจัดการทรัพยากรในพื้นที่ การจัดตั้งกลไกคณะทำงานร่วมระหว่างกลุ่ม การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน และการเยี่ยมเยือนเพื่อให้กำลังใจซึ่งกันละกัน ด้วยการสร้างความชัดเจนในการมีส่วนร่วม โดยการจัดระบบการดำเนินการแก้ไขและรับมือต่อปัญหาน้ำท่วม ด้วยมีกลไกการจัดการอย่างเป็นระบบบนเป้าหมายการทำงานร่วมกัน เพื่อรับมือและแก้ไขปัญหาอุทกภัยอันจะเกิดขึ้นในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมทรัพยากรน้ำ. (2552). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2552.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ธีรยุทธ อุดมพร (2551). การจัดการทรัพยากรน้ำท้องถิ่นอย่างยั่งยืนของลุ่มน้ำสงครามโดยใช้จัดทำแผนปฏิบัติการ 21. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม, และพรรณทิพย์ เพชรมาก. (2551). การบริหารสังคมศาสตร์แห่งศตวรรษเพื่อสังคมไทยและสังคมโลก. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

วิภาส ทองสุทธิ์. (2551). การบริหารจัดการที่ดี. กรุงเทพมหานคร: อินทภาษ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ (ฉบับสมบูรณ์) (Organization and Management). กรุงเทพฯมหานคร: Diamond in Business World.

สัจจา บรรจงศิริ และคณะ. (2556). การขับเคลื่อนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบผสมผสานของประเทศสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำวัง. กรุงเทพมหานคร: กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สุนีย์ มัลลิกะมายล์. (2545). รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิทักษ์รักษาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cohen John M. & Norman T. Uphoff. (1980). “Participation’s Place in Rural Development : Seeking Clarity Through Specificity”. World Development. May : 214-222.

Halpin, Andrew. (1966). Theory and Research in Administration. New York: Mcmillan Company.