การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย ด้วยการเรียนรู้แบบ IMTEAC MODEL สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย ด้วยการเรียนรู้แบบ IMTEAC MODEL กับนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบ IMTEAC MODEL สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 90 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก เลือกห้องเรียนมาจำนวน 2 ห้อง แล้วจับฉลากเลือกห้องเรียน 1 ห้องเป็นกลุ่มทดลอง และ 1 ห้องเป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) หนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย (2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย ด้วยการเรียนรู้แบบ IMTEAC MODEL (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test Independent ใช้ทดสอบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม และ Paire t-test dependent ใช้ทดสอบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
ผลการวิจัยพบว่า (1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.60/82.67 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย ด้วยการเรียนรู้แบบ IMTEAC MODEL กับนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบ IMTEAC MODEL สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมวิชาการ. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กรองแก้ว ศรีสุมานันท์. (2561). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด รักน้ำตกวังก้านเหลือง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
กิตติคุณกฤดากร สุขปัญญา. (2562). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ภูมิปัญญาล้ำ ค่าวิถีชน รายวิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกบินทร์วิทยา จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
คุณัญญา จำนงค์รัตน์. (2560). ผลการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องเมืองตากน่ายลที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อท้องถิ่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทุ่งมะขามป้อม จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จินตนา ใบกาซูยี. (2542). เทคนิคการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ชัยยงศ์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1), 7-20.
ต่อศักดิ์ บุญพิมล. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธมนต์วรรณ หนูเกตุ. (2557). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการอ่านเพื่อความ เข้าใจในรูปหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์. 7 (2), 35-42.
ยลดา อรัญรุด. (2558). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องท่องเที่ยวสุรินทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2556 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
เวณิกา ถนอมเพียร. (2559). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สังขะ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
สุเทียบ ราชปันติ๊บ. (2560). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชุด มหัศจรรย์มัจฉาสวรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
อภิชา แดงจำรูญ. (2562). จัดอบรมอย่างไรให้โดนใจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.