การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวันด้วยการเรียนรู้แบบ IMTEAC MODEL สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม วิชา สังคมศึกษา 4 (ส32103) เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา สังคมศึกษา 4 เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร ที่เรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมตามรูปแบบ IMTEAC MODEL กับนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบ IMTEAC MODEL กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 73 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ด้วยวิธีการจับฉลาก เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมตามรูปแบบ IMTEAC MODEL และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ IMTEAC MODEL เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน รายวิชาสังคมศึกษา 4 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา 4 เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 โดยใช้แบบแผนการทดลองรูปแบบ Randomized Group, Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม วิชา สังคมศึกษา 4 เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พัฒนาและมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมตามรูปแบบ IMTEAC MODEL สูงกว่านักเรียนนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบ IMTEAC MODEL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กิตติคุณกฤดากร สุขปัญญา. (2561). หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ภูมิปัญญาล้ำค่าวิถีชน รายวิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกบินทร์วิทยา จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
คุณัญญา จำนงค์รัตน์. (2560). ผลการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง เมืองตากน่ายล ที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและเจตคติต่อท้องถิ่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทุ่งมะขามป้อม จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ต่อศักดิ์ บุญพิมล. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทนนิค STAD ประกอบหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปริญญาพร ศรีชะตา. (2554). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง มหัศจรรย์เมืองกาฬสินธุ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร. (2563). รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2562. ฉะเชิงเทรา:โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร.
โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร. (2563). สารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2562. ฉะเชิงเทรา: โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร.
เวณิกา ถนอมเพียร. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสังขะ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม. การค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ศิรประภา จังพานิช. (2557). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม เรื่อง ชุมชนคนไร่ขิง สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (2558). แนวคิดการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3
สมพร จารุนัฎ. (2554). หน่วยที่ 13 การพัฒนาหนังสือและเอกสารเพื่อการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทย หน่วยที่ 11-15. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
หาญศึก เล็บครุฑ และ ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2553). แนวคิดการใช้สารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการคิด. วารสารวิทยบริการ. 21 (1), 1-9.
อภิชา แดงจำรูญ. (2562). จัดอบรมอย่างไรให้โดนใจ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทุมพร จามรมาน. (2540). ข้อสอบ: การสร้างและการพัฒนา = Test items: construction and Development. กรุงเทพมหานคร: ฟันนี่พับลิชชิ่ง.
อิศราพรรณ์ ดาคำ. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา เรื่อง สถานการณ์สิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี ที่เรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมกับการเรียนแบบปกติ. สารนิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.