การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนปัว 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสำรวจแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนปัว4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนปัว4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 และเพื่อพัฒนาคู่มือการบริการจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนปัว4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากร ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบงานด้านแหล่งการเรียนรู้ ปราชญ์ชุมชนด้านแหล่งการเรียนรู้ ผู้บริหารและครูจำนวน 65 คน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คือ ผู้บริหาร ครูวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบดูแลแหล่งเรียนรู้ จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
การสำรวจแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนปัว4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 พบว่า แหล่งเรียนรู้ที่รวบรวมได้ทั้งหมด 53 แหล่ง เป็นแหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล จำนวน 15 แหล่ง แหล่งการเรียนรู้ประเภทสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น จำนวน 17 แหล่ง แหล่งการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ จำนวน 13 แหล่ง แหล่งการเรียนรู้ประเภทกิจกรรมทางสังคม ประเพณี และความเชื่อ จำนวน 8 แหล่ง
การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนปัว4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 สภาพปัจจุบัน โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผน พบว่า มีการกำหนดนโยบายรัฐ ระเบียบกฎหมายและเป้าหมายในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ ปัญหาที่พบด้านการวางแผน คือ ขาดการวางแผนและขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ ด้านการปฏิบัติตามแผนงาน พบว่า มีการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้อยู่เสมอ ปัญหาที่พบคือ ครูและนักเรียนไม่เห็นความสำคัญของการเรียนเรียนรู้ จากแหล่งเรียนรู้ ด้านการตรวจสอบ พบว่า มีการเปิดโอกาสให้ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นปัญหาที่พบคือ ขาดการกำกับติดตามการใช้แหล่งเรียนรู้ ด้านการปรับปรุง พัฒนา พบว่า บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนา/ปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ ปัญหาที่พบคือ ขาดวิเคราะห์ข้อมูล การใช้แหล่งเรียนรู้และการนำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุงพัฒนาแหล่งเรียนรู้
การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนปัว4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ประกอบด้วย บทนำ แหล่งเรียนเรียนรู้ การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ ข้อมูลพื้นฐาน และแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนปัว4 และประเมินความเหมาะสมของคู่มือการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านรูปเล่มของคู่มือ และด้านเนื้อหาของคู่มือ ตามลำดับ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.
กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
คำ วงค์เทพ. (2554). การศึกษาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 . ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ธนพล ด่านวิวัฒน์วงศ์, พระครูวิทิต ศาสนทร และชาลี ภักดี. (2561). “การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้โรงเรียนบ้านริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย Journal of Graduate Research. 9 (1), 115-130.
นิรุต กลีบจันทร์. (2559). แนวทางการใช้แหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาชัยนาท. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.
ประภาภรณ์ มีพรหม.(2559). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านข่าพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 . ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
สาคร มหาหิงค์. (2560). ปัญหาการบริหารแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
สุดารัตน์ งามวิลัย. (2561). แนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตร่มเกล้า-นวมินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2544). กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิชย์.