แนวทางการดูแลผู้สูงอายุในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

Main Article Content

กุลวดี กุลสุนทร
เกศรินทร์ วิงพัฒน์
โชติ บดีรัฐ

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดูแลผู้สูงอายุในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์แนวทางการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงในช่วงสถานการณ์ covid-19 ในประเทศไทย ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้สูงอายุเป็นคนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคและส่งผลต่อการเกิดอาการอย่างรุนแรงมากกว่ากลุ่มวัยอื่น เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวมีสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันลดลงตามวัยจึงมีความเสี่ยงในด้านสุขภาพและต้องการการดูแลที่มากกว่าดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ได้แก่ การดูแลสุขภาพในด้านอาหาร การออกกำลังกาย ด้านอารมณ์ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันที่ดี ส่วนในด้านการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค covid-19 ทำได้ด้วยการหมั่นล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้งหากออกนอกบ้าน ลดการสัมผัสของผู้คนควรลดกิจกรรมทางสังคมและรีบเข้ารับวัคซีนตามสิทธิของตนเองให้เร็วที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมเพื่อ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สำหรับประเภทกิจการและกิจกรรม กลุ่มที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานสถานการณ์โควิด - 19 ฉบับที่ 538 วันที่ 24 มิถุนายน 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/ situation/situation-no538-240664.pdf

เกรียงศักดิ์ ซื่อเลื่อม และคณะ. (2554). ฟื้นวิชา “คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุไทย”. วารสารควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 37 (3), 222-228.

ชาย โพธิสิตา และสุชาดา ทวีสิทธิ์. (2552). ครอบครัวไทยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านทางสังคมและประชากร. กรุงเทพมหานคร: เดือนตุลา.

ดลพร รุจิรวงศ์. (2564). COVID-19: พลิกมุมคิด...วิกฤต หรือ โอกาส. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://web.tcdc.or. th/th/Articles/Detail/Covid-19-cover-story.

นารีรัตน์ จิตรมนตรี, วิไลวรรณ ทองเจริญ และสาวิตรี ทยานศิลป์ (2552). รายงานการวิจัยตัวแบบการดูแล ผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนเขตเมืองและกรุงเทพมหานคร. คณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

บวรศม ลีระพันธ์ และคณะ. (2563). การพัฒนาแบบจำลองบูรณาการระบบการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สายฤดี วรกิจโภคาทร และคณะ. (2550). ระบบการดูแลของผู้สูงอายุ ปรับแนวคิดร่วมชีวิตผู้สูงอายุ : การทบทวนแนวคิดและองค์ความรู้เบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

World Health Organization Thailand. (2564). โรคโควิด 19 คืออะไร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา:https://www. who.int/docs/default-source/searo/thailand/update-28-covid-19-what-we-know---june2020---thai.pdf.