กัลยาณธรรม : กระบวนการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ตามหลักกัลยาณธรรม พบว่า กัลยาณธรรมเป็นหลักธรรมที่ช่วยพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกด้วยความรัก ความเมตตาในสัตว์ทั้งหลาย ด้วยจิตเสมอกันในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวง เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงอบรมสั่งสอนให้มนุษย์โลกทุกคนได้ประพฤติปฏิบัติให้เกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ ด้วยหลัก 3 ประการ คือ 1) การมีเมตตากายกรรม เป็นการประพฤติสุจริตทางกาย 2) การมีเมตตาวจีกรรม เป็นการประพฤติสุจริตทางวาจา 3) การมีเมตตามโนกรรม เป็นการประพฤติสุจริตทางใจ ซึ่งวิธีการเข้าถึงเมตตาธรรมพึงปฏิบัติด้วยการเมตตาประกอบหลัก 3 ประการ 1) การไม่ทำบาปทั้งปวง 2) การทำกุศลให้ถึงพร้อม และ 3) การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ พฤติกรรมเป็นการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ปรากฏออกมา 3 ทาง กาย วาจา และใจ หลักธรรมที่สามารถช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีตามหลักเบญจกัลยาณธรรม คือ การพัฒนาให้มีความคิดถูกต้องและปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนาอย่างมีความสุข 2 ประการ คือ 1) ปฏิบัติตนตามหลักเบญจศีล 2) ปฏิบัติตนตามหลักเบญจธรรม ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับมนุษย์ทุกคนในโลกนี้
Article Details
References
จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2556). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2556). คำวัด : พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ และคณะ. (2549). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2535). พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เลี่ยงเชียง.
Coon, D., & Mitterer, J.O. (2013). Introduction to Psychology : Gateways to Mind and Behavior. (13rd ed.). New Tech Park : WADSWORTH CENGAGE Learning.
King, L.A. (2011). The Science of Psychology. (2nd ed.). New York : McGraw Hill.
Lefton, L.A., & Brannon, L. (2008). Psychology. New York : Pearson Education.
Nevid, J.S. (2012). An Introduction to Psychology. (4th ed.). Connecticus : WADSWORTH CENGAGE Learning.