การศึกษาสภาพการบริหารจัดการ ตามแนวทางการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา การบริหารจัดการตามแนวทางการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาด้านการบริหาร ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 โดยขอบเขตด้านตัวแปร ได้แก่ การบริหารจัดการ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจสถานศึกษา ด้านการจัดระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ด้านการดำเนินงานพัฒนาวิชาการ ด้านการพัฒนาครูและบุคลากร ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ด้านการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ประชากร ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 จำนวน 47 โรงเรียน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 จำนวน 44 แห่ง โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจซี่และมอร์แกนและเทียบสัดส่วนตามจำนวนแบ่งชั้นภูมิตามจำนวนสถานศึกษาเพื่อเทียบสัดส่วน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้นวยการสถานศึกษาจำนวน 44 คนและครู จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.6-1.0 ค่าความเชื่อมั่น 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการ ตามแนวทางการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจสถานศึกษาที่ชัดเจน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดกาเรียนรู้
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38. (2557). เรื่อง รายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม ของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38 ปีการศึกษา 2554 – 2557.
จรรยา แก้วบุญเรือง. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหารการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนคุณภาพการศึกษาสันสลีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
นิวัฒน์ อุ่นพิกุล. (2556). สภาพการดําเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 27. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: ราชภัฎบุรีรัมย์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พรวิมล ไชยารักษา. (2559). ทัศนคติของครูต่อการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนรัฐบาล และเอกชนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภัควิภา ลูกเงาะ. (2562). สภาพและแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: ราชภัฎบุรีรัมย์.
รังสรรค์ มณีเล็ก. (2549). การวางแผนกลยุทธ์ และการจัดทางบประมาณในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2556). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). เรื่องแนวทางการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษา ระดับประถมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ.