บทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีฮดสรง กรณีศึกษา พระอธิการธวัชชัย ถาวโร บ้านดงหมากไฟ ตำบลศรีสว่าง อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

อริศรา เพ็ชรักษา
พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาบทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีฮดสรง กรณีศึกษา พระอธิการธวัชชัย ถาวโร บ้านดงหมากไฟ ตำบลศรีสว่าง อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด 2. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีฮดสรง กรณีศึกษาพระอธิการธวัชชัย ถาวโร บ้านดงหมากไฟ ตำบลศรีสว่าง อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของบทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีฮดสรง กรณีศึกษาพระอธิการธวัชชัย ถาวโร บ้านดงหมากไฟ ตำบลศรีสว่าง อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (indepth interview) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม คือ 1) ผู้ใหญ่บ้าน 2) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3) คณะกรรมหมู่บ้าน 4) ปราญ์ชาวบ้าน 5) ประชาชน และ 6) พระสงฆ์ แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร วรรณกรรมและแบบสัมภาษณ์ มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (content analysis)
          ผลการศึกษาประเด็นบทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีฮดสรง กรณีศึกษา พระอธิการธวัชชัย ถาวโร บ้านดงหมากไฟ ตำบลศรีสว่าง อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ประเพณีฮดสรงจะดำเนินการในรูปแบบของกิจกรรมประเพณี โดยมีวัดเป็นสถานที่หลักในการจัดกิจกรรม พระสงฆ์ผู้ที่จะได้รับ      การฮดสรงจะประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยหลัก คือ 1) ต้องเป็นผู้ที่มีพรรษากว่า 3 พรรษาขึ้นไป 2) ต้องเป็นผู้ที่มีการศึกษานักธรรมหรือพระไตรปิฎก และ 3) ต้องเป็นที่เคารพนับถือประชาชนในหมู่บ้าน พระสงฆ์ที่อยู่ครบ        3 พรรษา เมื่อได้รับการฮดจะมีตำแหน่งศรัทธาคือ ซา พระสงฆ์ที่อยู่ครบ 10 พรรษา เมื่อได้รับการฮดจะมีตำแหน่งศรัทธาคือ พระครูหรือญาครูซา ผลการศึกษาประเด็นปัญหาและอุปสรรคบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีฮดสรง กรณีศึกษา พระอธิการธวัชชัย ถาวโร บ้านดงหมากไฟ ตำบลศรีสว่าง อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ประเพณีฮดสรงไม่ได้ดำเนินการจัดขึ้นทุกปีหรือจัดเป็นงานประจำปี จึงเป็นสาเหตุให้วัด     ที่มีพระภิกษุสงฆ์พร้อมที่จะได้รับการฮดสรงมีจำนวนน้อย เพราะว่าประเพณีฮดสรงต้องอาศัยพระภิกษุสงฆ์ที่มีความรู้ อยู่จำพรรษาได้มากกว่า 3 พรรษาขึ้นไป ด้วยเหตุนี้การจัดการเรียนรู้ให้แก่ชุมชนเรื่องประเพณีฮดสรง     จึงกระทำได้ยาก และผลการศึกษาประเด็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของบทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีฮดสรง กรณีศึกษา พระอธิการธวัชชัย ถาวโร บ้านดงหมากไฟ ตำบลศรีสว่าง        อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ควรมีการส่งเสริมให้พระภิกษุมีการศึกษา ให้ได้มีศรัทธาในการอยู่          ในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการส่งเสริมจากเจ้าอาวาส การส่งเสริมจากชาวบ้าน หรือเป็นผู้อุปการะพระสงฆ์ และให้กำลังใจพระสงฆ์อยู่เสมอ ๆ เพราะประเพณีฮดสรงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีผู้ศรัทธา และพระสงฆ์อยู่จำพรรษา   ได้ครบ 3 หรือ 10 พรรษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พัทยา สายหู. (2545). กลไกของสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูธรรมธรนิเทศ อภิญาโณ และ พระครูสุนทร เจติยาภิวัฒน์. (2559). บทบาทของวัดในการเสริมสร้างให้เกิดสันติสุขในชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 4 (ฉบับพิเศษ), 82-90

พระครูกิตติวรานุวัตร, พระฉัตรชัย อธิปญฺโญ และ พระอุดมสิทธินายก. (2561). บทบาทพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ 5 (3), 468-487.

พระครูเมตตากิตติวิมล (อภัย อภโย). (2555). การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อในประเพณีฮดสรงของชาวตำบลป่าสังข์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาพระพุทธศาสนา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ ทองสม. (2556). แนวทางการอนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ภูมิปัญญาชุมชน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 25613. แหล่งที่มา: www2.tsu.ac.th/clw/main/files_sec2.pptx.

จิตรดารมย์ รัตนวุฒ. (2556). มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการอนุรักษ์และการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา การแสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น. 1 (1), 135-169.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2553). พระมหาสมณนิยมในการบริหารการคณะสงฆ์.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมหมาย กิตยากุล. (2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์พื้นที่ลุ่มน้ำแม่สรวยจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำราญ ตันเรืองศรี. (2530). บทบาทที่เป็นจริงและบทบาทที่คาดหวังของสมาชิกกองอาสาสมัครรักษาดินแดนศึกษาจากทัศนะของเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอสมาชิกกองรักษาดินแดนและกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2525). วรรณคดีและวรรณกรรมปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

อภิชัย พันธเสน. (2539). พัฒนาชนบทไทย : สมุทัยและมรรค. ตอนที่ 3 ความหวัง ทางออกและทางเลือกใหม่. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิภูมิปัญญา.

อภิชัย พันธเสน. (2539). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.