การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองใหญ่ศิริวรวาทวิทยา ที่เรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียในวิชาประวัติศาสตร์

Main Article Content

ทัศนาวลัย อินทร์ยา
อรนุช ลิมตศิริ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและ   หลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย กลุ่มตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนหนองใหญ่ศิริวรวาทวิทยา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 5 แผน สื่อมัลติมีเดีย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ประเภทไม่อิสระ dependent sample t-test
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.33/83.11 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย มีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38

Article Details

How to Cite
อินทร์ยา ท., & ลิมตศิริ อ. . . (2021). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองใหญ่ศิริวรวาทวิทยา ที่เรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียในวิชาประวัติศาสตร์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(9), 85–98. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/249828
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). การสอนประวัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

นรินธน์ นนทมาลย์. (2561). วิดีโอปฏิสัมพันธ์ในการเรียนแบบเปิดในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์. 46 (4), 211-227.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2552). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

พรไพลิน เฉิดละออ. (2562). การศึกษาประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สื่อการสอนมัลติมีเดีย วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สักทอง : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท). 6 (2), 101-110.

พัชราวลัย จีนอนงค์. (2558). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ผ้าขาวม้าร้อยสี สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัตน์ติกานต์ เพนเทศ. (2558). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาที่มีต่อการเรียนรู้และเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรวรรณ วงศ์ศรีจันทร์. (2560). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียโดยใช้เทคนิควิธีคิดเชาว์ปัญญาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิทยาการสารสนเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศศิพัชร จำปา. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางประวัติศาสตร์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 9 (2), 1158-1171.

ศิโรจน์ ศรีโกมลทิพย์ และ ศิวนิต อรรถวุฒิกุล. (2559). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ในการผลิตสื่อศิลปะสำหรับเด็ก. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9 (1), 1459-1472

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์, บุญมี พันธ์ไทย และสมจิตรา เรื่องศรี. (2559). (พิมพ์ครั้งที่ 3). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

อดิสรณ์ เรืองกิจจานันท์. (2561). สานต่ออภิวัฒน์การเรียนรู้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 : การส่งเสริมกระบวนการและคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในมิติใหม่. วารสารวิชาการ. 21 (3), 25-39.

อรนุช ลิมตศิริ. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ Integrated Learning Management. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook: The Cognitive Domain. New York: David McKay.